SCBA ( Self Contained Breathing Apparatus )

เครื่องช่วยหายใจ  SCBA ( Self Contained Breathing Apparatus )

     หลังจากที่ผมได้เข้ามาเรียนรู้ ในเรื่องของการดับเพลิงในอาคาร สิ่งสำคัญที่ทางผู้ฝึกพยายามจะแนะนำและปลูกฝังให้กับเรา คือ การรักษาชีวิตของตนเอง การทำให้ตนเองปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน เราถูกปลูกฝังอย่างนี้ทุกครั้งที่ได้เรียนรู้

      ถ้าตนเองไม่ปลอดภัย แล้วเราจะไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร  คำพูดที่ผู้ฝึกแนะนำ ปลูกฝังเราอยู่ร่ำไป  กรอกหูจนเป็นเอกลักษณ์ภายในตัวบุคคลไปแล้ว ได้ยินคำพูดนี้เมื่อไหร่แน่นอนว่าต้องใช่ครูคนนั้นแน่นอน  แต่สิ่งที่เขาบอกคือสิ่งที่ดีครับ และเป็นสากลด้วย ว่าด้วยเรื่องของการกู้ภัยและกู้ชีพ ( ไม่แปลกใจครับที่ข่าวนักศึกษาขับรถตกน้ำที่ต่างประเทศแล้วทำไมนักกู้ภัยถึงยังไม่ช่วย )

สิ่งหนึ่ง ที่นักดับเพลิงหรือนักกู้ภัย ในพื้นที่เพลิงไหม้ขาดไม่ได้เลย เหมือนกับเพื่อนตายของนักดับเพลิง คือ เครื่องช่วยหายใจ หรือที่นักดับเพลิงเรียกกันติดปาก SCBA  เครื่องช่วยหายใจที่ใช้กับนักดับเพลิงต้องผ่านการประเมินหรือทดสอบจากหน่วยงานป้องกันไฟแห่งชาติ National Fire Protection Association (NFPA) ปี 1981 ถึงจะนำมาใช้ได้เพราะมันเป็นมาตรฐานที่ใช้กับการดับเพลิง ที่มีอุณหภูมิที่สูง มาตรฐานจึงคนละแบบกับเครื่องช่วยหายที่รถกู้ภัยหรือรถพยาบาลเขาใช้กันครับ


SCBA ( Self Contained Breathing Apparatus )  ที่ใช้ในการดับเพลิง จะมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. ชุดสะพายหลัง  ซึ่งชุดสะพายหลังก็จะประกอบไปด้วย
    1.1  Regulator ตัวปรับแรงดันจากถังอากาศ จุดที่ 1 จะปรับแรงดันให้เหลืออยู่ประมาณ 9 - 10 Bar.
    1.2  ดีมัลวาล์ว ตัวปรับแรงดัน ตัวที่ 2 จะปรับแรงดันให้เหลือประมาณ 1-2 Bar. ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่เราใช้หายใจ
    1.3  สายรัด
    1.4  สายบัดดี้  เพื่อใช้ต่อให้กับเพื่อนเมื่อถึงคราวที่เพื่อนอากาศหมดก่อนและต้องออกจากพื้นที่โดยเร็ว
2.  ถังอากาศ ซึ่งก็มาหลายขนาดตามความจุอากาศ 
3.  หน้ากาก 

ถังอากาศขนาดที่ใช้นี้สามารถบรรจุน้ำได้ 6 ลิตร หรือ บรรจุอากาศได้ 300 Bar. และใช้ได้ประมาณ 45 นาที 


การใช้อากาศ  บางคนก็เรียกว่า กินอากาศ   เราเคยสงสัยไหมครับว่าคนเรานั้นกินอากาศไปเท่าไหร่ ต่อนาที เราลองมาดูครับ  
      คนเราโดยทั่วไป ขณะไม่ทำงานหรืออยู่เฉยๆ ทำกิจวัตรธรรมดาไม่เร่งรีบ จะกินอากาศอยู่ประมาณ  20 ลิตร / นาที
      แต่ถ้าเราทำงานหนักๆ  จะกินอากาศขึ้นเป็นเท่าตัวเลยนะครับ หรือประมาณ 40 ลิตร / นาที

แล้วทำไมเราต้องรู้ด้วยหล่ะ ?????

สำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักกู้ภัย นักดับเพลิง นักประดาน้ำ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปคำนวณกับการใช้ถังอากาศ SCBA ที่เราจะต้องใช้  ถ้าไม่รู้เราคงต้องตายแน่ คำนวณเวลาไม่ได้ก็ตายในกองเพลิง หรือในน้ำลึก ครับ

สูตรการคำนวณ  คือ  Bar.  X  6  หาร 40 = นาที

Bar.  = ขนาดอากาศ  ( ดูจากเกจวัดแรงดัน )
6       = ขนาดบรรจุของถัง  
40     = อัตราการใช้อากาศ ( กินอากาศ )

การสังเกต เกจวัดแรงดัน บางครั้งหน่วยวัดก็จะไม่ได้มีหน่วยเป็น Bar. อย่างเดียวนะครับ จะมีหน่วยเป็น Psi. ด้วยครับ แต่การแปลงก็ไม่ยากครับ 

1 Bar.  =  14.78 Psi.

วิธีการแปลงหน่วย
Psi.  เปลี่ยนเป็น  Bar.             จำนวน  Psi  หาร  14.78
Bar. เปลี่ยนเป็น  Psi.              จำนวน  Bar คูณ  14.78  

แต่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่จริงๆ เกจวัดแรงดันของเราจะมีนกหวีดคอยเตือนอยู่ครับ เมื่ออากาศข้างในเหลือต่ำกว่า 50% นกหวีดจะดังขึ้น นั่นหมายถึงเวลาที่เราต้องออกจากพื้นที่โดยเร็จครับ

การเข้าพื้นที่นั้น นักดับเพลิงจะเข้าที่เกิดเหตุกันเป็นทีมครับ ฉะนั้นคนในทีมที่มีอากาศเหลือน้อยที่สุดจะเป็นหลักของทีม เมื่อมีสัญญาณจากเพื่อนในทีมต้องออกจากพื้นที่ทันที


ความคิดเห็น

  1. ปกติอัตราการหายใจของคนอยุ่ที่ 12-20 ครั้งต่อนาที เวลาเหนื่อยๆ ก็สัก 24-30 ครั้งต่อนาที ความจุปอดคนประมาณ 450 -700 ml 700 นี่คือใหญ่มากๆ น่าจะตัวโตแบบฝรั่ง ของคนไทยน่าจะสัก 500-600 ml อัตราการกินอากาศน่าจะประมาณ 600*30=18,000 ml/min หรือ 18 ลิตรต่อนาที คิดง่ายๆก็เลข 20 ลิตรต่อนาที ถ้วนๆ แล้วเพื่อความปลอดภัยใส่ค่าคูณ 2 ไป เลยใช้ค่าอัตรากินอากาศเป็น 40 ลิตรต่อนาที

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ยินดีอย่าวยิ่งครับผม

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น