เงื่อนเชือก

ตอนเด็กๆ เราเคยสงสัยไหม ?  ว่าเราเรียนเงื่อนเชือก ในชั่วโมงลูกเสือไปเพื่ออะไร ?

เงื่อนเชือกที่เราเรียนๆ กันในชั่วโมงลูกเสือ เรารู้ว่ายากนะครับ แต่ในความยากนั้นกลับแสนวิเศษ เพราะถ้าเรียนรู้การใช้ดีๆ มันสามารถที่จะช่วยชีวิตเราได้ในยามที่เรามีภัยมาถึงตัว อาทิเช่น
- น้ำป่าไหลหลาก ในกรณี ที่ไปเที่ยวป่า น้ำตก ห้วยหนอง คลอง บึง แล้วเกิดเหตุไม่คาดฝัน
- ดินโคลนถล่ม
- ลากจูงรถยนต์
- มัดของบนรถ
- ฯลฯ
เยอะแยะครับ  ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ยิ่งถ้าผ่านการฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางช่วยเหลือชีวิตของผู้ประสพภัยอีกมากมายเช่นกัน

นักกู้ภัย  จะชำนาญการใช้เชือกมาก เพราะต้องเข้าไปในที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้ประสพภัย และมีนักดับเพลิงคอยดับเพลิงระงับภัย

มาดูเงื่อนเชือก  ที่เราใช้ในการกู้ภัยหลักๆ แล้วมีอะไรกันบ้างนะครับ แบ่งตามหมวดหมู่กันเลยนะครับ

1. หมวดการต่อเชือก
 
  1.1  เงื่อนพิรอด  

  
เงื่อนพิรอด
     เป็นเงื่อนที่ใช้ต่อเชือกในกรณีที่เชือกมีขนากเท่ากัน สามารถใช้เงื่อนนี้ต่อได้

     การต่อเชือกด้วยเงื่อนนี้ ถ้าจะให้ปลอดภัยต้องจะต้องหักคอไก่หรือทำเซฟตี้น็อทที่ตรงจุดท้ายของเงื่อนทั้ง 2 ด้าน เพื่อไม่ไห้มันลูดได้นะครับ












  1.2  เงื่อนขัดสมาธิ



เงื่อนขัดสมาธิ 
      เป็นเงื่อนต่อเชือกในกรณีที่เชือกมีขนาดที่ไม่เท่ากัน เชือกเส้นหนึ่งใหญ่และเชือกเส้นที่มาต่อนั้นเส้นเล็กกว่า
   
      ลักษณะนี้ควรใช้เงื่อนขัดสมาธิมาทำการต่อ แล้วทำการหักคอไก่หรือทำเซฟตี้น็อทด้วยนะครับเพื่อความปลอดภัย












2. หมวดเงื่อนผูกลากรั้ง

  2.1 เงื่อนตระกรุดเบ็ด



เงื่อนตระกรุดเบ็ด 
      เป็นเงื่อนมหาชนที่ใช้กันบ่อยมากๆ ในการใช้ร่วมกับเงื่อนอื่นในการใช้งาน

      การประยุกต์ ใช้งานเงื่อนตระกรุดเบ็ด เป็นเงื่อนที่ใช้ในการผูกยึดติดกับเสาร์หรือวัตถุที่ต้องการยึด เพื่อที่จะใช้เงื่อนอื่นได้ต่อไป

      การใช้งานลอกต่างๆ จุดมัดเริ่มแรกควรจะใช้เงื่อนตระกรุดเบ็ดทุกครั้ง เพราะเป็นเงื่อนที่มัดแล้วยิ่งดึงยิ่งทำให้แน่นมากขึ้น










 2.2 เงื่อนผูกร่น



เงื่อนผูกร่น
     เงื่อนนี้เหมาะสำหรับเชือกเก่าสักนิดหนึ่งที่มีรอยชำรุดเหมือนจะขาด แต่ไม่ขาด เงื่อนผูกร่น จึงเป็นเงื่อนหนึ่งที่จะช่วยย่นระยะต่อและข้ามจุดที่คิดว่าจะขาดเอาไว้

     ลักษณะของเงื่อนนี้ให้เอาปลายเชือกล้วงขึ้นที่บ่วงแล้วใช้ไม้ที่แข็งแรงสอดงัดไว้จะทำให้แข็งแรงมากขึ้น



 2.3 เงื่อนผูกซุง



เงื่อนผูกซุง 

      ชื่อบอกเป็นนัยๆ ครับว่าผูกซุง ใช้ในการลากไม้ แต่การลากไม้เราจะลากในแนวขวางไม่ได้ จึงจำเป็นต้องทิ้งระยะมาสักหน่อยแล้วทำการหักคอไก่ช่วงหนึ่งก็จะทำให้การลากไม้หรือซุงไปในแนวตรงครับ






3. หมวดเงื่อนช่วยชีวิต
  
  3.1 เงื่อนเก้าอี้


เงื่อนเก้าอี้
     เป็นเงื่อนที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในลักษณะแนวดิ่ง ( ทั้งจากที่สูงลงที่ต่ำหรือจากที่ต่ำขึ้นที่สูง )
   
     เงื่อนเก้าอี้ ในการทำเงื่อนนี้ในการผูกเงื่อนช่วยเหลือคนจริงๆ ต้องทำการเซฟตี้น็อท ที่เชือกหลักด้วยกันการคลายตัวของเชือก เป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง

  


  3.2 เงื่อนบ่วงสายธนู แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

        
        
บ่วงสายธนู 2 ห่วง


บ่วงสายธนู 3 ห่วง

 




















  3.3 เงื่อนขโมย 

     เงื่อนขโมย  การลงจากที่สูง การที่เราจะเก็บเชือกได้ง่ายที่สุดก็คงจะเป็นเงื่อนนี้ครับ เพียงแค่เราดึงเชือกอีกเส้นหนึ่งเชือกก็จะคลายออกจากกันแล้วก็ดึงลงมาเพื่อเก็บ

















  3.4  เงื่อนบันไดปม


เงื่อนบันไดปม   เงื่อนที่ใช้สำหรับการปีนขึ้นที่สูง  การทำเงื่อนนี้ ให้ทำเป็นเงื่อนตระกรุดเบ็ดซ้อนกันตามจำนวนปมที่ต้องการแล้วสอดสายอีกด้านแล้วดึงออกมาจะได้ปมบันได้ ออกมาดังภาพ

















4. หมวดเงื่อนกู้ภัยพิเศษ

   4.1  เงื่อนเลขแปด  แบ่งเป็น 3 เงื่อน ดังนี้

       4.1.1  เงื่อนเลขแปด 1 ห่วง


 เงื่อนเลขแปด 1 ห่วง
     
       เป็นเงื่อนที่ใช้ในการทดแรงของเชือกเมื่อประกอบเข้ากับชุดรอก เงื่อนนี้จะไม่ทำให้เชือกไหลไปไหนที่สำคัญแข็งแรง ปลอดภัยครับ

       เงื่อนนี้นิยมผูกไว้ที่ปลายเชือกและปลายเชือกที่เหลือจะเหลือพอประมาณ ( ประมาณ 1 กำมือ ) หรือปลายที่เหลือถ้าต้องการความแข็งแรงอีกก็ทำเซฟตี้น็อท ก็ได้ครับ










คลิปการผูกเงื่อน Figure Eight Knot.


       4.1.2  เงื่อนเลขแปด  2 ห่วง


  เงื่อนเลขแปด 2 ห่วง

       เป็นเงื่อนที่ใช้ในการทดแรงของจุดกระจายแรง เมื่อไม่มีแผ่นกระจาย ที่ใช้กับรอก   




    การผูกเงื่อนกับเสาร์หรือวัตถุที่ไม่สามารถสวมได้  วิธีการคือการถักเข้าไปทีละเส้น

















     4.1.3 เงื่อนเลขแปด 3 ห่วง 


  ใช้ในการกระจายแรง หรือแทนแผ่นกระจายแรง สำหรับใช้งานรอก


















  4.2  เงื่อนเลขแปดอินไลน์  


  เงื่อนเลขแปดอินไลน์ 

        เงื่อนที่ใช้สำหรับการต๋งเชือก ให้แน่นมากขึ้น ประโยชน์ใช้สำหรับการต๋งเชือกมัดของบนรถได้ครับ หรือต๋งเชือกให้แน่นในการมัดเชือกข้ามฟากแม่น้ำให้แน่นมากขึ้น

        การผูกเงื่อนแปดอนไลน์ สามารถผูกไปได้ทั้งสองทางครับ และที่สำคัญแกะง่ายครับ


  4.3  เงื่อนผีเสื้อ  แบ่งเป็น 2 เงื่อน คือ

      4.3.1  เงื่อนผีเสื้อ 1 ห่วง 


เงื่อนผีเสื้อ  

    เป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับการต๋งเชือกด้วยเช่นกัน แต่มันพิเศษคือ สามารถต๋งไปทางซ้ายหรือขวาได้เลยครับ







     4.3.2  เงื่อนผีเสื้อ  2 ห่วง    จะมีห่วงเพิ่มขึ้นมาอีกห่วงหนึ่ง สามารถต๋งซ้ายขวาพร้อมกันได้เลยครับ

ความคิดเห็น

  1. เงื่อนที่ใข้ประโยชน์ในการช่วยชีวิตคือ

    ตอบลบ
  2. เงื่อนที่ใข้ประโยชน์ในการช่วยชีวิตคือ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น