Review หนังสือ 500 ล้านปี ของความรัก 1


Review หนังสือ 500 ล้านปี ของความรัก 1                                                                                 
นพ.ชัชพล  เกียรติขจรธาดา      เขียน
พญ.ขวัญปีใหม่  พะนอจันทร์     ภาพประกอบ

          หนังสือ 500 ล้านปี ของความรัก 1 จากที่ได้อ่านและทำความเข้าใจในหนังสือเล่มนี้ ทำให้เราได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงมนุษย์เราด้วย ภาวการณ์เกิดอารมณ์ต่างๆ ของคนเรา หน้าที่ของอารมณ์มีไว้เพื่ออะไร  และเรื่องของความรักทั้งชายและหญิง รวมถึงเพศที่อยู่ตรงกลางด้วย โดยรายละเอียดจะยกตัวอย่างที่สนใจ ดังนี้
     1.  อารมณ์ 
-      ชาร์ลส์ วิตแมน ที่มีความผิปกติของสมอง ลุกมาฆ่าคนมากมาย ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากอาการ ผิดปกติของต่อมในสมอง ส่วนอะมิดาลา ( อารมณ์โกรธ กลัว )
-      สมองในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 3 ส่วนคือ ส่วนก้านสมอง จะทำงานในขึ้นพื้นฐานที่เราอยู่ได้ เช่นการเต้นของหัวใจ การหายใจ การกิน นอน เป็นต้น , สมองส่วน ระบบลิมบิก ( limbic )  ที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ ความจำ  และสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวกับความฉลาดทางสังคม ความเป็นเหตุและผล สมองทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำงานร่วมกัน สมองแต่ละชั้นมีการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน เยอะมากๆ ยากที่จะแยกว่าสมองแต่ละส่วนทำงานในระดับไหน 
-     เมื่อคนเราไม่มีอารมณ์ ( กรณี เอเลียต ) เมื่อไม่มีอารมณ์เข้ามาช่วยในการแยกแยะว่าเรื่องไหน เป็นเรื่องสำคัญ ก็จะไม่สามารถให้คุณค่าทางเลือกต่างๆ ด้วยอารมณ์ได้ ทางเลือกต่างๆ ก็จะไม่ต่างกัน จืดชืด ไร้สีสัน ดูเท่าเทียมกัน ไม่มีทางเลือกไหนที่โดดเด่นขึ้นมา ทางเลือกเดียว คือพิจารณาทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามา ข้อดี ข้อเสีย ทุกๆเรื่อง
-     ระบบการตัดสินใจ แบ่งเป็นสองชั้น คือ ชั้นบน  ( Level 1 ) ในระดับของเปลือกสมอง ซึ่งเป็น สมองเหตุผล ชั้นนี้จะทำงานในระดับจิตสำนึก ( ฉันคิด ฉันรู้ ฉันเห็น ฉันได้ยิน )  , ชั้นล่าง  ( Level 2 ) การตัดสินใจระดับนี้เกิดขึ้นจากสมองที่อยู่ใต้เปลือกสมองลงไป เป็นการตัดสินใจในระดับนอกจิตสำนึก เราไม่รู้ตัว ( สันชาตญาณ ) เช่น ระบบลิมบิก ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำงานได้เร็ว ทำงานอย่างอัตโนมัติ ( ไม่ต้องคิด ) การทำงานของสมองส่วนนี้จะไม่เป็นไปใน ลักษณะของการวิเคราะห์เป็นลำดับขั้น แต่จะเป็นการที่สมองอ่านแบบแผนออกมา ( pattern recognition ) เช่น การเล่นดนตรี ฯลฯ
-      ภาพลวงตา เสียงลวงหู รสชาติลงลิ้น การรับรู้ของเราที่ต่างไปจากสิ่งที่เป็นจริงได้นั้น เป็นเพราะ ระบบประสาทของเราไม่ได้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเสมอไป แต่เป็นสมองที่รับข้อมูลจาก ภายนอกมาผสมเข้ากับความทรงจำเก่าๆ หรือความเชื่อเก่าๆ แล้วปรุงแต่งออกมาเป็นการรับรู้ที่ เราเห็น เราได้ยิน เรารู้รส  เช่นเดียวกันอารมณ์ของเราก็ก็ถูกลวงด้วยเหตุผลเดียวกันคือ อารมณ์เป็นสิ่งที่สมองสร้างขึ้นมาจากข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับเข้าไปและข้อมูลเก่าที่สะสมอยู่เดิม ในสมองแล้ว จากนั้นก็ปรุงแต่งอารมณ์ตามสถานการณ์นั้นออกมา
-      สิ่งที่นอกเหนือไปจากการรับรู้ อารมณ์ และการพูดแล้ว พฤติกรรมอื่นๆ ของมนุษย์อีกมากมาย ก็เป็นสัญชาตญาณที่มีวงจรอยู่ในสมอง และเป็นเพราะมนุษย์เรามีสัญชาตญาณที่หลากหลาย เหล่านี้ เราจึงเป็นสัตว์ที่ฉลาดและคิดได้ซับซ้อนกว่าสัตว์อื่นๆ (รวมไปถึงฉลาดกว่าคอมพิวเตอร์) 
     

2. ความรัก
ทฤษฎีการจีบ
       เมื่อเราปิ๊งใครสักคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า จะรู้ได้อย่างไรว่าเขา / เธอคนนั้นคือคนที่ ใช่เลย หรือ ไม่ใช่เลย เชื่อหรือไม่ว่าภายในเวลาแค่ 90 วินาที ถึง 4 นาที ของการพูดคุยกัน  ระบบภายในร่างกายจะช่วยเราตัดสิน ได้ว่า จะ รุกต่อ หรือ จะชิ่งดี  เพราะว่าในการพูดคุยอย่างสวีทหวานแหว๋วกับบุคคลเป้าหมาย
ความประทับใจและการรับรู้ข้อความจากการสื่อสารนั้น ร้อยละ 55 จะมาจากภาษากาย ร้อยละ 38 มาจากน้ำเสียงและความเร็วในการพูด และแค่ร้อยละ 7 จากสาระที่เราพูดออกไป  ซึ่งหมายความว่าเพียงแต่มีลีลาดี  ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว
-     การจูบ  พฤติกรรมการจูบของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะเป็นการเลีย การเอาจมูกถูกัน การดม การชิม พฤติกรรมเหล่านี้อาจดูห่างไกลจากการจูบของคนเรา แต่หลักการของมัน ไม่ต่างกัน นั่นคือ เป็นพฤติกรรมที่ทำให้สัตว์สองตัวเข้าไปใกล้ชิดกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน สัมผัสต่างๆ อย่างใกล้ชิด
-     กลิ่น  ถ้าพูดถึงเรื่องนี้จะได้ยินคำว่า ฟีโรโมน ( Pheromone ) เป็นสารเคมีที่ใช้ในการสื่อสาร ระหว่างกันของสัตว์ต่างๆ ร่วมถึงพืชบางชนิด เพื่อให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมขึ้น นอกจากนั้นฟีโรมโมนยังช่วย ในการเบื้องต้นเพื่อที่จะบอกถึงพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน ในการลดจำนวนที่จะผสมพันธุ์กันเอง แต่สัตว์ในธรรมชาติแม้ว่าจะไม่ฉลาดพอที่จะจำหน้ากันได้ แต่สามารถที่จะลดโอกาสลง
-     กลิ่นกับพันธุกรรม ร่างกายของคนเรามีสารประกอบเป็นกลิ่นของร่างกายเรา มาจากยีน MHC  ของเรา  , ยีน MHC และแบคทีเรียบนผิวหนังของเรามีความจำเพาะกับตัวเรามากๆ ไม่มีใครในโลกนี้อีกแล้ว ดังนั้นกลิ่นของร่างกายเราจึงมีความเป็นเอกลักษณ์สูงมากๆ เป็นกลิ่น ของเราเพียงคนเดียว ไม่ซ้ำใคร ไม่เหมือนใคร
     3. เพศชาย เพศหญิง และเพศอื่นๆ
-      กรณีตัวอย่างของเด็กหญิงที่กลายเป็นชายเมื่ออายุเข้าสู่วัยรุ่น ประเทศโดมินิกัน ที่มีความผิดปกติของฮอโมนที่ชื่อ ไดไฮโดรเทสทอสเทอโรน ( DiHydro-Testosterone , DHT ) ซึ่งในวัยเด็กฮอโมนตัวนี้หยุดจากเจริญเติบโต มีแต่ฮอโมนเทสทอสเทอโรน ( ที่ทำให้เด็กชาย กลายเป็นหนุ่มวัยรุ่น ) พอถึงช่วงวัยรุ่นร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงฮอโมนของร่างกายทำให้ ฮอโมน DHT ( ฮอโมนที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างอวัยวะเพศชายและถุงอัณฑะ )  ถูกกระตุ้นให้ทำงาน ร่างกายเลยเปลี่ยนคลิสทอลิสให้เป็นอวัยวะเพศชายและเปลี่ยนแคมนอก ให้เป็นถุงอัณฑะ และอัณฑะที่ช่อนอยู่บริเวณช่วงขาก็ขยับลงมาในถุงอัณฑะ แต่การเปลี่ยนแปลงนี้คนกลุ่มนี้การเจริญเติบโตของอวัยวะจะไม่เต็มที่เหมือนคนปกติทั่วไป แต่ที่น่าสนใจคือ คนกลุ่มนี้เมื่อเปลี่ยนเพศแล้วการใช้ชีวิตจากที่เคยเป็นเด็กหญิงมากลับใช้ชีวิต เป็นเด็กผู้ชายได้ปกติเหมือนไม่เคยเกิดอะไรขึ้นมา
-     โครโมโซม บ่งบอกถึงความเป็นชายและความหญิง
-     ระบบในสมองของมนุษย์ ( การตกหลุมรัก ) ซึ่งทั้งชายและหญิงจะมีระบบสมองที่ต่างกัน ในผู้ชายระบบนี้ในสมองจะมองหาความสามารถในการมีลูกเป็นหลัก ส่วนระบบนี้ในสมอง ผู้หญิงจะให้ความสำคัญกับพันธุกรรมที่ดี พันธุกรรมที่แตกต่างจากตนเอง และความสามารถ ในการหาทรัพยากร
-     เพศตรงกลาง ( เกย์ กระเทย ทอม เลสเบี้ยน ฯลฯ ) เพศนี้เราไม่สามารถรู้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้ อย่างไร เพศตรงกลางเป็นเพศที่ซับซ้อน กลไกการเกิดคงจะแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่รู้ ค่อนข้างแน่ชัดคือ ภาวะเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางชีววิทยาโดยตรง เพศตรงกลางมีความเป็น ปกติธรรมชาติไม่ต่างจากเพศชายและเพศหญิง เป็นพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน มานานเป็นล้านๆปี นานกว่าที่มนุษย์เกิดขึ้นบนโลก ( กรณีของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม )  สิ่งที่ผิด ธรรมชาติที่แท้จริงอาจจะไม่ใช่ภาวะรักร่วมเพศ แต่เป็นความเชื่อที่ว่าธรรมชาติมีแค่สองเพศ เท่านั้นต่างหากที่เป็นสิ่งผิดธรรมชาติ


ความคิดเห็น