ความเหมาะ ที่ไม่สมบูรณ์แบบ
ถ้าเราพูดถึงอาชีพครู ในปัจจุบันที่มีทั้งครูที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง ที่ทำหน้าที่ในการอบรม สั่งสอน และให้ความรู้แก่นักเรียนหรือลูกศิษย์ รวมทั้งอีกตำแหน่งหนึ่งที่สำคัญในโรงเรียนก็คือ ผู้อำนวยการสถานสถานศึกษา ซึ่งทำหน้าในการบริหารจัดการทุกอย่างในโรงเรียนนั้นๆ
มาดูหน้าที่หลักๆ ของบุคคลากรเหล่านี้กันก่อนนะครับ ( เอาแบบคร่าวๆ ชาวบ้านเข้าใจ )
ผู้อำนวยการสถานศึกษา กันก่อนนะครับ หน้าที่หลักๆ ก็หนีไม่พ้นการบริหารสถานศึกษา อาทิเช่น การวางแผนการจัดการการศึกษา , บุคคลากร , บริหารงบประมาณ , ผู้ปกครอง , รับนโยบายจากเขตฯ พื้นที่การศึกษา และการแก้ปัญหาสารพัดในโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนสักเท่าไหร่ ก็มีส่วนน้อยที่ครูในโรงเรียนขาดแคลนจริงๆ ผู้อำนวยการก็จะลงมาช่วยในการในชั้นเรียนครับ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ผมเคยอ่านคร่าวๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีในประกอบวิชาชีพครู ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้อำนวยการทุกคนก็มาจากครูผู้สอนทั้งนั้นครับจึงมีใบประกอบวิชาชีพครูกันเกือบ 100% ครับ
ผู้บริหารควรที่จะช่วยเหลือครูผู้สอน ( Support ) เพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและบุคคลากรภายในโรงเรียนให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแก้ปัญหาร่วมกัน โดยที่ทุกคนต้องมีความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน
สร้างสนามพลังงานบวกให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ให้โรงเรียนมีแรงดึงดูดทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน นักการศึกษา ให้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดกระบวนการในการพัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโรงเรียน จะเป็นแนวทางในการวางแผนร่วมกันในโรงเรียน และสามารถตอบโจทย์ให้กับต้นสังกัดได้ เพื่อลดความกดดันของครูผู้สอน ครูผู้สอนก็ทำงานอย่างเต็มที่
ไม่ทิ้งโรงเรียนให้เกิดปัญหาสะสม เมื่อเจอต้องรีบแก้ทันที และที่สำคัญในโรงเรียนต้องไม่มีพรรคพวก ถ้ามีควรจะลดและพยายามสลาย ให้กลายเป็นกลุ่มของโรงเรียนเพียงกลุ่มเดียว
ข้าราชการครู มีหน้าที่หลักๆ คือ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นหลัก ทำหน้าที่เป็นครูประจำชั้นเพื่อดูแลข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนในชั้นเรียนด้วย กล่าวง่ายๆ คือ การบริหารงานในชั้นเรียนครับ
พนักงานราชการครู มีหน้าที่หลักๆ ก็จะคล้ายกับครูที่เป็นราชการเลยครับ ต่างกันตรงสิทธิบางอย่างในการได้รับการตอบแทนเท่านั้น
ครูอัตราจ้าง มีหน้าที่ เหมือนครู บางโรงเรียนก็ใช้งบประมาณของโรงเรียนในการจ้าง ( ส่วนใหญ่จะจ้างตามวิชาเอกที่โรงเรียนขาดแคลน )
หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของครู ที่ในปัจจุบันนี้เกือบจะหายไปแล้วคือการวิเคราะห์หลักสูตรแล้วทำการออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการยึดเอามาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละมาตรฐานการเรียนออกมาสอดคล้องกันกับมาตรฐานในแต่ละช่วงชั้นที่ครูทำการสอน มีน้อยมากที่มีครูออกแบบการเรียนการสอนเอง แต่ก็มีอย่างครับ ซึ่งมันไม่แปลกที่ครูจะไม่ออกแบบเองเพราะในตลาดมีหนังสือของสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่ทำมาให้เรียบร้อยแล้ว เหมือนอาหารสำเร็จรูปเลยครับ ซึ่งมันก็ไม่ค่อยจะมีประโยชน์สักเท่าไหร่เพราะมันมีส่วนประกอบเพียงไม่กี่อย่าง จนบางอย่างไม่จำเป็นต่อร่างกายเลยแต่ก็ต้องกิน
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การร่วมเรียนรู้ร่วมกับเด็กนักเรียน สร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ไม่ทอดทิ้งนักเรียนในชั้นเรียน ออกแบบร่วมกันและเรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งมันก็เป็นอะไรดีมากๆ นักเรียนก็จะรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ใกล้ครู และพร้อมที่จะให้ใจครูและปรึกษากับครูได้ทุกเรื่อง เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียนในชั้นเรียน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพก็จะเกิดขึ้นและเกิดขึ้นตลอดเวลาด้วย เมื่อครูตั้งคำถามตลอดที่เรียนรู้ด้วยกัน มันต่าง กันมากครับที่โรงเรียนมีครูที่ไม่สามารถอยู่กับนักเรียนได้ การเรียนรู้จะขาดตอนและไม่ต่อเนื่อง ความไม่ต่อเนื่องก็จะทำให้อาการของการอยากเรียนรู้หมดหายไปและสุดท้ายเด็กก็จะกลายเป็นคนขี้เกียจไปในบันดล
การตั้งคำถามที่ดีก็สามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ที่ดีให้กับนักเรียน แต่การตั้งคำถามแต่ละครั้งต้องเป็คถามที่เป็นแบบปลายเปิดไม่มีถูกที่สุดและผิด เพราะถ้ามีถูกผิดเมื่อไหร่ คนที่ตอบผิดจะกลัวและเข้าสู่โหมดของความปลอดภัยของตนเองทันที ( Comfort Zone ) เด็กคนนั้นก็จะหายไปจากวงโคจรในชั้นเรียนทันที ( เสียโอกาสการเรียนรู้ไปโดยปริยาย )
การสร้างพระเดชในชั้นเรียนของครูผู้สอนจะทำให้ผู้เรียนขยาดและเก็บงำความรู้สึก เป็นการสร้างปมในใจ โดยเฉพาะในเรื่องของการกดขี่ข่มเหง , การชี้ผิดชี้ถูกโดยใช้ความรู้สึกตนเอง เป็นการสร้างความก้าวร้าวให้กับเด็กแบบชนิดที่รุนแรงที่สุด ( เหมือนการพ่นยาดูดซึมกำจัดวัชพืช ) และที่ใหญ่หลวงที่สุดคือการสูญเสียความเป็นตัวตนเองนักเรียนเอง เพราะครูที่ใช้อำนาจจะตีกรอบให้กับนักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ( ไม่ต่างจากการสอนให้วัวขึ้นต้นไม้ เพื่อไปกินยอดออนบนต้นไม่สูง )
การวัดผล แน่นอนครับการวัดผลที่ง่ายที่สุดสำหรับเวลานี้คือการทำข้อสอบ ก ข ค ง ซึ่งเป็นอะไรที่ง่ายมากๆ สำหรับครูและเห็นผลได้เร็วดีจริงๆ การวัดผลแบบนี้ในมุมมองผมนะครับ คุณไม่ต้องเรียนทั้งเทอมก็ได้อ่านหนังสือตรงที่จะออกให้เรียบร้อบก็ไปสอบ รับรองผ่านครับ การทำข้อสอบแบบนี้ ผมให้ 60% ของนักเรียนในชั้นเรียนเดาครับ กามั่วไปงั้นแหละ บางคนไม่อ่านด้วยซ้ำ เดี๋ยวตกก็ซ่อมเอา มีสอบซ่อมหนิ แล้วสำหรับคนที่อ่านหนังสือไม่เก่งหล่ะ อ่านไม่เข้าใจหล่ะ อ่านช้าหล่ะ ตกครับ ทางที่ดี ครู ควรหาวิธีการวัดผลที่มีประสิทธิภาพที่สามารถมองเห็น ความรู้ ( Knowledge ) ทักษะ ( Skill ) คุณลักษณะ ( Attitude ) ของตัวนักเรียนออกมาเป็นคนๆ และประเมินตลอดในระหว่างการเรียนรู้ ถ้าครูสามารถที่จะออกแบบการประเมินแนวนี้ออกมาได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการศึกษา
ดูแล้ว!!!! คนที่มีอาชีพครู ไม่ง่ายเลยใช่ไหมครับ ( สมกับเป็นอาชีพทรงคุณค่านะครับ )
ถ้าครู รับงานอื่นเข้ามาด้วยหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น?????
ส่วนใหญ่คนที่รับราชการครูในปัจจุบันนี้ จะประกอบอาชีพอื่นด้วยในช่วงเวลาพิเศษ เช่น หลังเลิกเรียน วันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น
แต่ ก็มีอยู่ตำแหน่งหนึ่งที่บุคคลากรทางการศึกษาต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกัน นั่นก็คือ เรื่องเงินๆทองๆ ของข้าราชการครูเองครับ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ทุกจังหวัดน่าจะมีนะครับ เพราะเป็นสหกรณ์ของข้าราชการครูมาออมเงินเพื่อเป็นเงินเก็บของครูในอนาคต ( ว่าตามชื่อนะครับ )
จากที่ผมเคยศึกษาเรื่องสหกรณ์ออมทรัพย์มา มันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นมา ตั้งแต่การระดมทุนเพื่อการจัดตั้ง ระดมทุนในการให้สมาชิกได้กู้เงินในยามฉุกเฉิน หรือกู้สามัญ ฏ้แล้วแต่สมาชิก ในส่วนรายละเอียดนี้ผมคงไม่อธิบายอะไรมากครับ เพราะในแต่ละสหกรณ์ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป
ประเด็นอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดการบริหารเงินจำนวนนี้ ก็จะมีส่วนจัดการ ก็จะมีพนักงาน ผู้จัดการ หัวหน้าส่วนต่างๆ ตามโครงสร้างของสหกรณ์นั้นๆ แล้วก็มีส่วนของคณกรรมการที่มาจากสมาชิก เพื่อเข้ามาบริหารงาน วางนโยบายของแต่ละปีที่ดำรงตำแหน่งอยู่
คำถาม ????? ถ้าครู มาเป็นกรรมการหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น
- จะทิ้งเด็กในชั้นเรียนไหม
- คุณภาพการเรียนการสอนจะหายไปไหม เพราะต้องมารับผิดชอบงานในองค์นี้อีก
- หนึ่งสัปดาห์ ครูต้องไปประชุมในองค์นี้อีกละ ( ถ้าเป็นครูบนดอยก็ต้องมาก่อนอีก 1 วัน กลับอีก 1 วัน )
- ความต่อเนื่องในชั้นเรียนจะเป็นอย่างไร
- แล้วเมื่อประชุมกลับมาต้องมากระจายข่าวสารและต้องไปพบกับสมาชิกเพื่อนครูโรงเรียนอื่นอีกหล่ะ
คำถาม ผุดขึ้นมาเยอะแยะมากมาย สุดท้ายก็ไม่พ้นคำว่า ครูทิ้งการสอน
แล้ว ผอ. หล่ะ ก็ยังดีนะที่ ผอ. ไม่ได้แตะเรื่องการเรียนการสอนในชั้นเรียน และรับหน้าที่ในการบริหารอย่างเดียว ก็ยังพอหยวนๆ ได้ครับ ก็ถ้าให้ดีที่วุด ก็ไม่ควรที่จะละทิ้งโรงเรียนไปเลย
ยังไงดีหล่ะ ???? เอาแบบความคิดบ้านๆนะครับ
1. ควรจะเป็นข้าราชการครูบำนาญที่ยังมีไฟในการทำงาน มาทำในองค์นี้ดีกว่า เพราะ
1.1 ข้าราชการครูบำนาญ มีเวลาเต็มในการทำงานในส่วนนี้
1.2 การพบปะเพื่อนสมาชิกทำได้ดีกว่าและทั่วถึง
1.3 การมารับทราบปัญหาและปฏิบัติงานที่สำนักงานทำได้เต็มเวลา
1.4 สมาชิกส่วนใหญ่จะให้ความเคารพ เพราะอาวุโสกว่า
2. การเข้ามาในการบริหารไม่สมควรที่จะมาตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง
3. ไม่เข้ามาเพื่อจับผิด แต่ควรมาเพื่อหาช่องโหว่และหาทางแก้ไข แล้วพัฒนา
4. ทางฝ่ายจัดการ ควรที่จะอำนาจในการทำงานตามระเบียบที่ร่วมกันวางไว้และคัดค้านเมื่อเห็นว่านโยบายบางอย่างที่มันไม่เป็นผลดีต่อองค์กร ( โดยเฉพาะการหาเสียงของผู้ที่จะเข้ามาบริหาร ) การจะออกนโยบายควรต้องปรึกษากับทางฝ่ายจัดการก่อน ฝ่ายจัดการต้องเป็น Professional ด้วย
5. ถ้าเป็นคนที่อยู่ในเขตฯการศึกษา ก็จะดี แต่ต้องไม่กระทบกับงานที่รับผิดชอบ
ถ้ารู้หน้าที่ของตน คงไม่ยากมากที่จะทำ ถ้าไม่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
ถ้าเราพูดถึงอาชีพครู ในปัจจุบันที่มีทั้งครูที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง ที่ทำหน้าที่ในการอบรม สั่งสอน และให้ความรู้แก่นักเรียนหรือลูกศิษย์ รวมทั้งอีกตำแหน่งหนึ่งที่สำคัญในโรงเรียนก็คือ ผู้อำนวยการสถานสถานศึกษา ซึ่งทำหน้าในการบริหารจัดการทุกอย่างในโรงเรียนนั้นๆ
มาดูหน้าที่หลักๆ ของบุคคลากรเหล่านี้กันก่อนนะครับ ( เอาแบบคร่าวๆ ชาวบ้านเข้าใจ )
ผู้อำนวยการสถานศึกษา กันก่อนนะครับ หน้าที่หลักๆ ก็หนีไม่พ้นการบริหารสถานศึกษา อาทิเช่น การวางแผนการจัดการการศึกษา , บุคคลากร , บริหารงบประมาณ , ผู้ปกครอง , รับนโยบายจากเขตฯ พื้นที่การศึกษา และการแก้ปัญหาสารพัดในโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนสักเท่าไหร่ ก็มีส่วนน้อยที่ครูในโรงเรียนขาดแคลนจริงๆ ผู้อำนวยการก็จะลงมาช่วยในการในชั้นเรียนครับ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ ผมเคยอ่านคร่าวๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีในประกอบวิชาชีพครู ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้อำนวยการทุกคนก็มาจากครูผู้สอนทั้งนั้นครับจึงมีใบประกอบวิชาชีพครูกันเกือบ 100% ครับ
ผู้บริหารควรที่จะช่วยเหลือครูผู้สอน ( Support ) เพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและบุคคลากรภายในโรงเรียนให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแก้ปัญหาร่วมกัน โดยที่ทุกคนต้องมีความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน
สร้างสนามพลังงานบวกให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ให้โรงเรียนมีแรงดึงดูดทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน นักการศึกษา ให้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดกระบวนการในการพัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโรงเรียน จะเป็นแนวทางในการวางแผนร่วมกันในโรงเรียน และสามารถตอบโจทย์ให้กับต้นสังกัดได้ เพื่อลดความกดดันของครูผู้สอน ครูผู้สอนก็ทำงานอย่างเต็มที่
ไม่ทิ้งโรงเรียนให้เกิดปัญหาสะสม เมื่อเจอต้องรีบแก้ทันที และที่สำคัญในโรงเรียนต้องไม่มีพรรคพวก ถ้ามีควรจะลดและพยายามสลาย ให้กลายเป็นกลุ่มของโรงเรียนเพียงกลุ่มเดียว
ข้าราชการครู มีหน้าที่หลักๆ คือ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นหลัก ทำหน้าที่เป็นครูประจำชั้นเพื่อดูแลข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนในชั้นเรียนด้วย กล่าวง่ายๆ คือ การบริหารงานในชั้นเรียนครับ
พนักงานราชการครู มีหน้าที่หลักๆ ก็จะคล้ายกับครูที่เป็นราชการเลยครับ ต่างกันตรงสิทธิบางอย่างในการได้รับการตอบแทนเท่านั้น
ครูอัตราจ้าง มีหน้าที่ เหมือนครู บางโรงเรียนก็ใช้งบประมาณของโรงเรียนในการจ้าง ( ส่วนใหญ่จะจ้างตามวิชาเอกที่โรงเรียนขาดแคลน )
หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของครู ที่ในปัจจุบันนี้เกือบจะหายไปแล้วคือการวิเคราะห์หลักสูตรแล้วทำการออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการยึดเอามาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละมาตรฐานการเรียนออกมาสอดคล้องกันกับมาตรฐานในแต่ละช่วงชั้นที่ครูทำการสอน มีน้อยมากที่มีครูออกแบบการเรียนการสอนเอง แต่ก็มีอย่างครับ ซึ่งมันไม่แปลกที่ครูจะไม่ออกแบบเองเพราะในตลาดมีหนังสือของสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่ทำมาให้เรียบร้อยแล้ว เหมือนอาหารสำเร็จรูปเลยครับ ซึ่งมันก็ไม่ค่อยจะมีประโยชน์สักเท่าไหร่เพราะมันมีส่วนประกอบเพียงไม่กี่อย่าง จนบางอย่างไม่จำเป็นต่อร่างกายเลยแต่ก็ต้องกิน
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การร่วมเรียนรู้ร่วมกับเด็กนักเรียน สร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ไม่ทอดทิ้งนักเรียนในชั้นเรียน ออกแบบร่วมกันและเรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งมันก็เป็นอะไรดีมากๆ นักเรียนก็จะรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ใกล้ครู และพร้อมที่จะให้ใจครูและปรึกษากับครูได้ทุกเรื่อง เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียนในชั้นเรียน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพก็จะเกิดขึ้นและเกิดขึ้นตลอดเวลาด้วย เมื่อครูตั้งคำถามตลอดที่เรียนรู้ด้วยกัน มันต่าง กันมากครับที่โรงเรียนมีครูที่ไม่สามารถอยู่กับนักเรียนได้ การเรียนรู้จะขาดตอนและไม่ต่อเนื่อง ความไม่ต่อเนื่องก็จะทำให้อาการของการอยากเรียนรู้หมดหายไปและสุดท้ายเด็กก็จะกลายเป็นคนขี้เกียจไปในบันดล
การตั้งคำถามที่ดีก็สามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ที่ดีให้กับนักเรียน แต่การตั้งคำถามแต่ละครั้งต้องเป็คถามที่เป็นแบบปลายเปิดไม่มีถูกที่สุดและผิด เพราะถ้ามีถูกผิดเมื่อไหร่ คนที่ตอบผิดจะกลัวและเข้าสู่โหมดของความปลอดภัยของตนเองทันที ( Comfort Zone ) เด็กคนนั้นก็จะหายไปจากวงโคจรในชั้นเรียนทันที ( เสียโอกาสการเรียนรู้ไปโดยปริยาย )
การสร้างพระเดชในชั้นเรียนของครูผู้สอนจะทำให้ผู้เรียนขยาดและเก็บงำความรู้สึก เป็นการสร้างปมในใจ โดยเฉพาะในเรื่องของการกดขี่ข่มเหง , การชี้ผิดชี้ถูกโดยใช้ความรู้สึกตนเอง เป็นการสร้างความก้าวร้าวให้กับเด็กแบบชนิดที่รุนแรงที่สุด ( เหมือนการพ่นยาดูดซึมกำจัดวัชพืช ) และที่ใหญ่หลวงที่สุดคือการสูญเสียความเป็นตัวตนเองนักเรียนเอง เพราะครูที่ใช้อำนาจจะตีกรอบให้กับนักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ( ไม่ต่างจากการสอนให้วัวขึ้นต้นไม้ เพื่อไปกินยอดออนบนต้นไม่สูง )
การวัดผล แน่นอนครับการวัดผลที่ง่ายที่สุดสำหรับเวลานี้คือการทำข้อสอบ ก ข ค ง ซึ่งเป็นอะไรที่ง่ายมากๆ สำหรับครูและเห็นผลได้เร็วดีจริงๆ การวัดผลแบบนี้ในมุมมองผมนะครับ คุณไม่ต้องเรียนทั้งเทอมก็ได้อ่านหนังสือตรงที่จะออกให้เรียบร้อบก็ไปสอบ รับรองผ่านครับ การทำข้อสอบแบบนี้ ผมให้ 60% ของนักเรียนในชั้นเรียนเดาครับ กามั่วไปงั้นแหละ บางคนไม่อ่านด้วยซ้ำ เดี๋ยวตกก็ซ่อมเอา มีสอบซ่อมหนิ แล้วสำหรับคนที่อ่านหนังสือไม่เก่งหล่ะ อ่านไม่เข้าใจหล่ะ อ่านช้าหล่ะ ตกครับ ทางที่ดี ครู ควรหาวิธีการวัดผลที่มีประสิทธิภาพที่สามารถมองเห็น ความรู้ ( Knowledge ) ทักษะ ( Skill ) คุณลักษณะ ( Attitude ) ของตัวนักเรียนออกมาเป็นคนๆ และประเมินตลอดในระหว่างการเรียนรู้ ถ้าครูสามารถที่จะออกแบบการประเมินแนวนี้ออกมาได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการศึกษา
ดูแล้ว!!!! คนที่มีอาชีพครู ไม่ง่ายเลยใช่ไหมครับ ( สมกับเป็นอาชีพทรงคุณค่านะครับ )
ถ้าครู รับงานอื่นเข้ามาด้วยหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น?????
ส่วนใหญ่คนที่รับราชการครูในปัจจุบันนี้ จะประกอบอาชีพอื่นด้วยในช่วงเวลาพิเศษ เช่น หลังเลิกเรียน วันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น
แต่ ก็มีอยู่ตำแหน่งหนึ่งที่บุคคลากรทางการศึกษาต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกัน นั่นก็คือ เรื่องเงินๆทองๆ ของข้าราชการครูเองครับ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ทุกจังหวัดน่าจะมีนะครับ เพราะเป็นสหกรณ์ของข้าราชการครูมาออมเงินเพื่อเป็นเงินเก็บของครูในอนาคต ( ว่าตามชื่อนะครับ )
จากที่ผมเคยศึกษาเรื่องสหกรณ์ออมทรัพย์มา มันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นมา ตั้งแต่การระดมทุนเพื่อการจัดตั้ง ระดมทุนในการให้สมาชิกได้กู้เงินในยามฉุกเฉิน หรือกู้สามัญ ฏ้แล้วแต่สมาชิก ในส่วนรายละเอียดนี้ผมคงไม่อธิบายอะไรมากครับ เพราะในแต่ละสหกรณ์ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป
ประเด็นอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดการบริหารเงินจำนวนนี้ ก็จะมีส่วนจัดการ ก็จะมีพนักงาน ผู้จัดการ หัวหน้าส่วนต่างๆ ตามโครงสร้างของสหกรณ์นั้นๆ แล้วก็มีส่วนของคณกรรมการที่มาจากสมาชิก เพื่อเข้ามาบริหารงาน วางนโยบายของแต่ละปีที่ดำรงตำแหน่งอยู่
คำถาม ????? ถ้าครู มาเป็นกรรมการหล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น
- จะทิ้งเด็กในชั้นเรียนไหม
- คุณภาพการเรียนการสอนจะหายไปไหม เพราะต้องมารับผิดชอบงานในองค์นี้อีก
- หนึ่งสัปดาห์ ครูต้องไปประชุมในองค์นี้อีกละ ( ถ้าเป็นครูบนดอยก็ต้องมาก่อนอีก 1 วัน กลับอีก 1 วัน )
- ความต่อเนื่องในชั้นเรียนจะเป็นอย่างไร
- แล้วเมื่อประชุมกลับมาต้องมากระจายข่าวสารและต้องไปพบกับสมาชิกเพื่อนครูโรงเรียนอื่นอีกหล่ะ
คำถาม ผุดขึ้นมาเยอะแยะมากมาย สุดท้ายก็ไม่พ้นคำว่า ครูทิ้งการสอน
แล้ว ผอ. หล่ะ ก็ยังดีนะที่ ผอ. ไม่ได้แตะเรื่องการเรียนการสอนในชั้นเรียน และรับหน้าที่ในการบริหารอย่างเดียว ก็ยังพอหยวนๆ ได้ครับ ก็ถ้าให้ดีที่วุด ก็ไม่ควรที่จะละทิ้งโรงเรียนไปเลย
ยังไงดีหล่ะ ???? เอาแบบความคิดบ้านๆนะครับ
1. ควรจะเป็นข้าราชการครูบำนาญที่ยังมีไฟในการทำงาน มาทำในองค์นี้ดีกว่า เพราะ
1.1 ข้าราชการครูบำนาญ มีเวลาเต็มในการทำงานในส่วนนี้
1.2 การพบปะเพื่อนสมาชิกทำได้ดีกว่าและทั่วถึง
1.3 การมารับทราบปัญหาและปฏิบัติงานที่สำนักงานทำได้เต็มเวลา
1.4 สมาชิกส่วนใหญ่จะให้ความเคารพ เพราะอาวุโสกว่า
2. การเข้ามาในการบริหารไม่สมควรที่จะมาตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง
3. ไม่เข้ามาเพื่อจับผิด แต่ควรมาเพื่อหาช่องโหว่และหาทางแก้ไข แล้วพัฒนา
4. ทางฝ่ายจัดการ ควรที่จะอำนาจในการทำงานตามระเบียบที่ร่วมกันวางไว้และคัดค้านเมื่อเห็นว่านโยบายบางอย่างที่มันไม่เป็นผลดีต่อองค์กร ( โดยเฉพาะการหาเสียงของผู้ที่จะเข้ามาบริหาร ) การจะออกนโยบายควรต้องปรึกษากับทางฝ่ายจัดการก่อน ฝ่ายจัดการต้องเป็น Professional ด้วย
5. ถ้าเป็นคนที่อยู่ในเขตฯการศึกษา ก็จะดี แต่ต้องไม่กระทบกับงานที่รับผิดชอบ
ถ้ารู้หน้าที่ของตน คงไม่ยากมากที่จะทำ ถ้าไม่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น