ทำไม อาชีพ นักการเมือง ถึงไม่มีการทดสอบ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ( ภาค ก. )
ผมเคยคิดเล่นๆ นะครับ อาชีพทั่วๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับการรับราชการ หรือพนักงานราชการ แม้กระทั้งการเข้าทำงานของบริษัทเอกชนทั่วไป ก็ยังมีการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
แต่ อาชีพนักการเมืองนั้นกลับไม่มีการทดสอบ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ทั้งๆ ที่อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องนำความรู้ความสามารถต่างๆ ของเขาไปใช้ สำหรับการรับใช้ประชาชน
ความรู้ความสามารถทั่วไป เป็นการวัดความรู้เบื้องต้นของตัวบุคคล ว่ามีความรู้เบื้องต้นเท่าไร ซึ่งการทดสอบในปัจจุบันอาจจะเป็นวิธีการทดสอบแบบหยาบๆก็ตาม แต่ยังสามารถที่จะเอามาทดสอบในเบื้องต้นได้ และการทดสอบปัจจุบันก็ไม่มีอะไรมาก ก็จะมี คณิตฯ ( การวิเคราะห์ , การคิดเชื่อมโยง , Pattern และการคำนวณง่าย ตามระดับชั้นของตน ) ภาษาไทย ( การวิเคราะห์ , คำคล้องจอง , การตีความ ) สังคม ( เหตุบ้านการเมืองทั่วไป ) ภาษาอังกฤษ ( Verb , Noun , Conjunction , Tents ฯลฯ ) และก็วิชาอื่นๆ เข้ามาเล็กๆน้อยๆ
แค่ความรู้ทั่วไปนะครับ ยังไม่รวมถึงการสอบทางกฎหมาย พระราชบัญญัติ พรบ. ต่างๆ ที่นักการเมืองทุกคนต้องรู้ ย้ำชัดๆๆๆครับ ต้องรู้ นักการเมืองทุกคนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวกฎหมายเบื้องต้น เพื่อที่จะใช้ในการเพื่อสิทธิของประชาชนที่ตนเองรับชอบอยู่
ปัจจุบัน ผมไม่เห็นนักการเมืองจะต้องผ่านการทดสอบเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย การเข้ามาของนักการเมืองอาศัยเพียงแค่คนมาก ลากไป คนไหนมีอิทธิพลหน่อยก็สามารถเข้ามาได้ง่าย คนไหนมีคนรู้จักหน่อยก็สามารถเข้ามาได้ คนไหนที่มีอาชีพรับเหมาก่อสร้างก็สามารถเข้ามาได้เพราะมีคนรู้จักและค่อนข้างมีอิทธิพลมาก ฯลฯ คนเหล่านี้แทบจะไม่ได้เปลี่ยนเลยครับ เลือกตั้งทีไรก็คนเก่าๆ ทั้งนั้นครับ เลือกทีแต่ละสมัยก็ไม่เคยมีอะไรดีขึ้นเลย นอกจากฐานะของนักการเมืองเอง ( แค่นักการเมืองที่โกงกินนะครับ คนดีๆ รับใช้ประชาชนก็มีเยอะ )
มี คำตลกๆ บอกว่า ก่อนวันเลือกตั้งไหว้ตั้งแต่คนยันเสาหลักลาย หมาวิ่งผ่านก็ยังไหว้ ไม่รู้ว่าจริงไหม ทางบ้านผมเขาพูดกันเล่นๆ
ถ้าดูตามเนื้อผ้า เคยสังเกตไหมครับ วันที่หาเสียงนั้นนโยบายต่างๆ พูดออกมาอย่างเมามัน ว่าจะทำโน้น นี่ นั่น ซะป๊ะ สรรหาคำมาพูดหมดทุกอย่าง เพื่อให้ประชาชนเขาคล้อยตาม พบใครไหว้หมดทุกคน ( ผมให้ช่วงนี้ว่าช่วงสร้างภาพลักษณ์ ) หลังจากวันที่เลือกตั้งเสร็จ หน้าเริ่มบาน อาหารเต็มโต๊ะ ถึงแม้ว่าเขาจะห้ามฉลองภายใน 30 วัน พอครบปุ๊บ จัดเลยครับ เราเคยสอบได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท แล้วเลี้ยงฉลองกันกระจายไหมครับ ผมว่าน้อยคนนะที่เป็นแบบนี้ เพราะคนที่สอบได้เขาต้องการเข้ามาทำงานเพื่อสังคมจริงๆ ส่วนน้อยนะเพื่อจุดประสงค์อื่น
หลังจากที่ได้เป็นนักการเมืองสมใจแล้ว ไหว้ ไม่มีในหัว ต้องให้ประชาชนไหว้ก่อน ถึงจะรับไหว้ ( รับไหว้ก็แบบ ไหว้ทิ้งอ่ะนะ ) หรือไม่สนใจใยดีเลยด้วย ความกร่างเริ่มมา ก ู เป็น สส. นะ , เป็น สว. นะ ฯลฯ ความอหังการเริ่มมา ความยโสเริ่มมา ความหิวโหยเริ่มมา นโยบายที่เคยว่าไว้เป็นเพียงสายลมที่พัดผ่านหูเท่านั้น
หน้าที่หลัก คือ เข้าประชุม ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ประชาชน ก็ยัง ถือความหวังไว้กับเขา
ถ้า มีการเปลี่ยนแปลงหล่ะ นักการเมืองเหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบอะไรมากมาย ก็จะได้เข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง ผ่านการตรวจสอบประวัติย้อนหลัง ถึงการคอรัปชั่น การทุจริตต่างๆ ของแต่ละบุคคล และที่สำคัญ คือ คุณธรรมและจริยธรรม ของคนเหล่านั้น คิดว่าจะเป็นอย่างไร
ถ้า นักการเมือง เก่งและมีคุณธรรม จริยธรรม และเข้าถึงประชาชนจริงๆ รู้ว่าประชาชนในเขตของตนขาดเคลนและต้องการความช่วยเหลืออะไรที่ยั่งยืน ไม่สนต่อค่า Commission ต่างๆ กล้าที่จะเผชิญหน้ากับผู้รับเหมารายใหญ่ที่มุ่งหวังเอากำไร จะเป็นอย่างไร
ผมเคยคิดเล่นๆ นะครับ อาชีพทั่วๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับการรับราชการ หรือพนักงานราชการ แม้กระทั้งการเข้าทำงานของบริษัทเอกชนทั่วไป ก็ยังมีการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป
แต่ อาชีพนักการเมืองนั้นกลับไม่มีการทดสอบ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ทั้งๆ ที่อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องนำความรู้ความสามารถต่างๆ ของเขาไปใช้ สำหรับการรับใช้ประชาชน
ความรู้ความสามารถทั่วไป เป็นการวัดความรู้เบื้องต้นของตัวบุคคล ว่ามีความรู้เบื้องต้นเท่าไร ซึ่งการทดสอบในปัจจุบันอาจจะเป็นวิธีการทดสอบแบบหยาบๆก็ตาม แต่ยังสามารถที่จะเอามาทดสอบในเบื้องต้นได้ และการทดสอบปัจจุบันก็ไม่มีอะไรมาก ก็จะมี คณิตฯ ( การวิเคราะห์ , การคิดเชื่อมโยง , Pattern และการคำนวณง่าย ตามระดับชั้นของตน ) ภาษาไทย ( การวิเคราะห์ , คำคล้องจอง , การตีความ ) สังคม ( เหตุบ้านการเมืองทั่วไป ) ภาษาอังกฤษ ( Verb , Noun , Conjunction , Tents ฯลฯ ) และก็วิชาอื่นๆ เข้ามาเล็กๆน้อยๆ
แค่ความรู้ทั่วไปนะครับ ยังไม่รวมถึงการสอบทางกฎหมาย พระราชบัญญัติ พรบ. ต่างๆ ที่นักการเมืองทุกคนต้องรู้ ย้ำชัดๆๆๆครับ ต้องรู้ นักการเมืองทุกคนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวกฎหมายเบื้องต้น เพื่อที่จะใช้ในการเพื่อสิทธิของประชาชนที่ตนเองรับชอบอยู่
ปัจจุบัน ผมไม่เห็นนักการเมืองจะต้องผ่านการทดสอบเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย การเข้ามาของนักการเมืองอาศัยเพียงแค่คนมาก ลากไป คนไหนมีอิทธิพลหน่อยก็สามารถเข้ามาได้ง่าย คนไหนมีคนรู้จักหน่อยก็สามารถเข้ามาได้ คนไหนที่มีอาชีพรับเหมาก่อสร้างก็สามารถเข้ามาได้เพราะมีคนรู้จักและค่อนข้างมีอิทธิพลมาก ฯลฯ คนเหล่านี้แทบจะไม่ได้เปลี่ยนเลยครับ เลือกตั้งทีไรก็คนเก่าๆ ทั้งนั้นครับ เลือกทีแต่ละสมัยก็ไม่เคยมีอะไรดีขึ้นเลย นอกจากฐานะของนักการเมืองเอง ( แค่นักการเมืองที่โกงกินนะครับ คนดีๆ รับใช้ประชาชนก็มีเยอะ )
มี คำตลกๆ บอกว่า ก่อนวันเลือกตั้งไหว้ตั้งแต่คนยันเสาหลักลาย หมาวิ่งผ่านก็ยังไหว้ ไม่รู้ว่าจริงไหม ทางบ้านผมเขาพูดกันเล่นๆ
ถ้าดูตามเนื้อผ้า เคยสังเกตไหมครับ วันที่หาเสียงนั้นนโยบายต่างๆ พูดออกมาอย่างเมามัน ว่าจะทำโน้น นี่ นั่น ซะป๊ะ สรรหาคำมาพูดหมดทุกอย่าง เพื่อให้ประชาชนเขาคล้อยตาม พบใครไหว้หมดทุกคน ( ผมให้ช่วงนี้ว่าช่วงสร้างภาพลักษณ์ ) หลังจากวันที่เลือกตั้งเสร็จ หน้าเริ่มบาน อาหารเต็มโต๊ะ ถึงแม้ว่าเขาจะห้ามฉลองภายใน 30 วัน พอครบปุ๊บ จัดเลยครับ เราเคยสอบได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท แล้วเลี้ยงฉลองกันกระจายไหมครับ ผมว่าน้อยคนนะที่เป็นแบบนี้ เพราะคนที่สอบได้เขาต้องการเข้ามาทำงานเพื่อสังคมจริงๆ ส่วนน้อยนะเพื่อจุดประสงค์อื่น
หลังจากที่ได้เป็นนักการเมืองสมใจแล้ว ไหว้ ไม่มีในหัว ต้องให้ประชาชนไหว้ก่อน ถึงจะรับไหว้ ( รับไหว้ก็แบบ ไหว้ทิ้งอ่ะนะ ) หรือไม่สนใจใยดีเลยด้วย ความกร่างเริ่มมา ก ู เป็น สส. นะ , เป็น สว. นะ ฯลฯ ความอหังการเริ่มมา ความยโสเริ่มมา ความหิวโหยเริ่มมา นโยบายที่เคยว่าไว้เป็นเพียงสายลมที่พัดผ่านหูเท่านั้น
หน้าที่หลัก คือ เข้าประชุม ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ประชาชน ก็ยัง ถือความหวังไว้กับเขา
ถ้า มีการเปลี่ยนแปลงหล่ะ นักการเมืองเหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบอะไรมากมาย ก็จะได้เข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง ผ่านการตรวจสอบประวัติย้อนหลัง ถึงการคอรัปชั่น การทุจริตต่างๆ ของแต่ละบุคคล และที่สำคัญ คือ คุณธรรมและจริยธรรม ของคนเหล่านั้น คิดว่าจะเป็นอย่างไร
ถ้า นักการเมือง เก่งและมีคุณธรรม จริยธรรม และเข้าถึงประชาชนจริงๆ รู้ว่าประชาชนในเขตของตนขาดเคลนและต้องการความช่วยเหลืออะไรที่ยั่งยืน ไม่สนต่อค่า Commission ต่างๆ กล้าที่จะเผชิญหน้ากับผู้รับเหมารายใหญ่ที่มุ่งหวังเอากำไร จะเป็นอย่างไร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น