เจ้าภาพ < งานศพ >

ถ้า จะพูดถึงเรื่องศพ งานที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของใครหลายๆคน

         ว่าด้วยเรื่องการตาย หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเศร้า เพราะคนที่เรา เคารพ รัก และศรัทธา ได้จากไปในโลกนี้ไม่มีวันได้หวนกับมาให้เห็นได้อีกแล้วในโลกใบนี้ ( นอกเสียจากปั้นเป็นรูปหุ่นขี้ผึ้งไว้ เอาไว้ดูต่างหน้าที่สมจริง  หรือบางคนก็เลือกที่จะเก็บเป็นภาพถ่าย เพราะค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก )

          การจากไปของผู้วายชนม์  เขาผู้นั้นไม่ทราบหรอกว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าร่างกาย สังขารของตนเองจะถูกนำไปทำเช่นไร ( จะเผา จะฝัง จะสับ อะไรก็แล้วแต่ ) ผู้ตายไม่มีวันทราบหรอกครับ แล้วแต่ในทางความเชื่อของผู้เป็น พ่อ แม่ ญาติ สามี ภรรยา  จะจัดการกับร่างอันไร้จิตวิญญาณนี้อย่างไร

          ส่วนใหญ่แล้วในการจัดการศพนั้นผมจะลองทำออกมาในแต่ละศาสนานะครับ
- พุทธศาสนา   จะนำร่างอั้นไร้วิญญาณนี้ ไปเผา ในเมรุ หรือเชิงตะกอน ( จิตกาธาน )
- ศริสต์ศาสนา   จะนำร่าง ไปฝังในสุสาน
- ศาสนาอิสลาม  จะนำร่างไปฝัง ภายใน 1 วัน
- พราหมณ์   จะนำร่างไปเผา เหมือนศาสนาพุทธ
เอาเฉพาะศาสนาหลักๆ ก็แล้วกันนะครับ

การจัดการศพ  นั้นแต่ละความเชื่อจะถูกญาติๆ ของเขา ทำพิธีตามความเชื่อเพื่อที่จะอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับผู้ตายได้ไปอยู่ ณ สถานที่ดี เช่น สวรรค์  ดินแดนของพระเจ้า เป็นต้น ตามความสบายใจของญาติพี่น้อง เพราะผู้ตายเขาไม่ทราบอยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นการจัดการงานศพจึงเป็นไปตามที่พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง สามี ภรรยา  ของผู้ตายจะต้องสบายใจ ตามความเชื่อของตน ถ้าญาติสบายใจ ผู้ตายก็จะได้ไปที่ดีๆ ด้วย ตามที่ญาติปรารถนา แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม ผลที่ออกมาก็ตรงกันข้างเช่นกัน

การจัดงานศพ ศาสนาอื่นนอกจากศาสนาพุทธแบบชาวบ้านและตามความเชื่อของคนในชุมชนนับถือกัน ศาสนาอื่นผมจะไม่เข้าไปแตะต้อง เพราะผมไม่ทราบจริงๆ อาจจะไปก้าวล่วงความเชื่อเขาได้

       ในท้องถิ่นผมมีความเชื่อของศาสนาพุทธ , พราหมณ์และผี  รวมตัวกันอยู่ซึ่งแยกออกจากกันแทบไม่ได้ และความเชื่อนี้ถูกถ่ายทอดต่อๆกันมาอย่างยาวนานและไม่มีใครกล้าที่จะเข้าไปแตะต้อง โดยอาศัยจารีต และประเพณี เป็นเกราะที่แน่นหนาคุ้มกันอยู่
     
       ผู้นำทางจิตวิญญาณ ส่วนใหญ่จะเป็นพระในทางพระพุทธศาสนา และเป็นทิด ( น้อย หนาน ภาคเหนือ ) เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพิธีกรรมทางพราหมณ์และผี  สามอย่างนี้จึงเป็นเหมือนแฝดที่อยู่ด้วยกันตลอดเวลา ( มีเธอต้องมีฉัน )

เริ่ม  มาสังเกตช่วงปัจจุบันนี้กับเมื่อช่วงตอนผมเป็นเด็ก พิธีกรรมหลังความตาย ต่างกันไปมากแต่ก็ไม่สิ้นเชิง เพราะยังหลงเหลือบางอย่างอยู่ที่ยังสืบทอดกันมาทางความเชื่อและจิตวิญญาณจริงๆ การจัดการศพรวดเร็วขึ้น การเผาถูกทำให้มิดชิดขึ้น อาหารการกินในงานถูกสุขอนามัยขึ้นและเป็นระบบมากขึ้น การพนันลดน้อยลง การดื่มสุราน้อยลงเพราะด้วยข้อห้ามต่างๆทางกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากที่มีการพัฒนาขึ้นมา
         ชุมชนบางพื้นที่ เริ่มมีการจัดงานศพในที่ส่วนรวมที่มีสถานที่พร้อม กว้างขวาง และถูกสุขลักษณะ เช่นในศาลาวัด หรือศาลาหมู่บ้านที่จัดไว้ ผมมองว่าเป็นสิ่งที่ดีนะครับที่ทำอย่างนี้ เพราะ เจ้าภาพงานประหยัดมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการตระเตรียมพื้นที่
         ในด้านการจัดการทางด้านชุมชน นั้นผมมองว่าเป็นเรื่องดี มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องในด้านที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและแขกที่มาร่วมงานให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น

งานพิธี  ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยพระสงฆ์ เพราะเป็นความเชื่อของคนพื้นถิ่นแถวนี้ ในการสวดพระอภิธรรม และการแสดงธรรมให้กับแขกผู้มาร่วมงานได้ร่วมทำบุญด้วยกันได้ฟังพระสวดเหมือนกัน
แต่ เราเคยสงสัยบ้างไหมว่า ?  ที่เราได้ยินมันแปลว่าอะไร ?  ที่พระสวดนั้นจริงๆแล้วมันคืออะไร ?

ทำไม ?  สักคืนหนึ่ง ไม่ลองให้พระสวดอภิธรรมแบบแปลให้ ญาติ พี่น้อง และแขกผู้มาร่วมงาน ได้สดับรับฟังว่าจริงๆแล้วบทสวดนั้นคืออะไร ผมเชื่อว่าพระส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบคือกันว่าบทที่สวดทุกๆวัน คืออะไร แปลว่าอะไร ความหมายมีว่าอย่างไร  เพราะว่าที่พระสวดนั้นเกิดจากการท่องจำอย่างเดียว ไม่ได้เข้าใจในบทที่สวด ( แต่ก็มีพระอีกส่วนหนึ่งที่เข้าใจนะครับ และควรจะเผยแผ่ให้พระรูปอื่นด้วยก็ดีครับ )

อีกประเด็นหนึ่ง  ที่ผมพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ ทาน   แน่นอนครับเมื่อมีการตายเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งที่เจ้าภาพจะต้องทำเป็นอันดับแรกๆ คือ การให้ทำบุญทำทาน ให้กับผู้ตาย

แน่นอน เมื่อมีการทำทาน สิ่งที่เกิดตามมาคือ ค่าใช้จ่าย  เราลองมาแยกกันเล่นๆ นะครับ

เจ้าภาพ
- อาหารและอาหารว่าง ( ค่าใช้จ่ายเยอะ ในส่วนนี้ )
- ของถวายทาน ( สังฆทาน ฯลฯ )
- ค่าโรงศพ เรือทาน ศาลาหรือปราสาท ( แล้วแต่เจ้าภาพ )
- ค่าเช่าถ้วยโถโอชาม โต๊ะ เต้นท์
- ค่าสนับสนุนต่างๆ
- ค่าซองถวายพระ
- ค่าจิปาถะ อีกนิดๆ น้อยๆ

และแถวบ้านผมชาวบ้านเขาร่วมกันทำบุญด้วยการออกข้าวสาร และเงินบ้างเล็กน้อยเพื่อร่วมสมทบทุนให้กับเจ้าภาพในการจัดงานศพในแต่ละครั้ง

นี่คือ การทำบุญและทำทาน ของเจ้าภาพ เพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต

แต่  ถ้าการทำบุญทำทานในครั้งนี้ ทำให้เกิดหนี้ก้อนโตหล่ะ  คิดว่า ผู้ตายจะได้รับผลบุญไหม ?  ( ถ้าเขารู้ว่าการทำบุญให้เขาทำให้ ญาติ พี่ น้อง เป็นหนี้ก้อนโต )  

เจ้าภาพสวดอภิธรรม  พักหลังๆ ผมเคยสังเกตเห็นว่าแขกที่มาร่วมงานจะเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมด้วยตนเอง ( การนำซองปัจจัยมาถวายพระเอง ) ผมไม่เข้าว่าทำ ทำไม ?  เพื่ออะไร ?

ถ้าเรานำเงินจำนวนนั้น มาช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเจ้าภาพหล่ะ!!!!! 

ลองตั้งคำถามเล่นนะ !!!!! แล้วทำไม ไม่ร่วมกันทำบุญแล้วใส่ซองเดียวให้กับพระหล่ะ ( เพราะ พระละแล้วซึ่งกิเลส เงินตราไม่จำเป็นต้องใช้อยู่แล้ว ) หรือว่า พระบ้านเรายังไม่ละกิเลส หล่ะ 

ผมเคยถาม  ว่าทำไม ?  ก็มีคนตอบมาว่า มันคือ การทำบุญทำทาน ของชาวบ้านที่เขาพอใจในการทำ  ( ถ้าผมไปถามพระ คงจะโดนมิใช่น้อย ) 

อีกประเด็นหนึ่ง  พระจะพร่ำสอนให้ชาวบ้านทำบุญทำทาน  แล้ว  พระทำบุญทำทานอย่างไร ?    เพราะเท่าที่เห็นส่วนใหญ่แล้วมีแต่รับถวายทานอย่างเดียว ( พระส่วนหนึ่งก็มีการทำบุญทำทานอยู่เป็นนิตย์  เช่น หลวงพ่อวัดพระบาทน้ำพุ เป็นต้น ) 

>>>  ถ้าพระที่สวดอภิธรรมแต่ละคืน เอาเงินส่วนนั้นไปช่วยเจ้าภาพ อาจจะเป็นเงินเล็กน้อยก็ตามแต่ก็ช่วยได้มาก แล้วพระก็รับซองที่เป็นของเจ้าภาพร่วมที่ใส่เยอะหน่อย  พอเป็นค่าใช่สอยเล็กน้อย  คงจะดีนะครับ >>>>     
     

ความคิดเห็น