ระบบบัญชาการ Incident Command System : ICS

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ระบบบัญชาการ  Incident Command System : ICS


ประโยชน์ของระบบ ICS

1. ระบบ ICS ตอบสนองความต้องการในการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทุกรูปแบบ
2. เจ้าหน้าที่จากหลากหลายองค์กร/หน่วยงาน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว
    ภายใต้โครงสร้างการจัดการเหตุการณ์แบบเดียวกัน
3. เป็นระบบซึ่งให้การสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ในการ ปฏิบัติงาน
4. ก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และประหยัด อันเนื่องจากไม่มีการทำงานที่ซับซ้อน


คุณสมบัติพื้นฐานของระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (Basic Features of ICS)

ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ มีคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญดังนี้
1. การวางมาตรฐาน ( Standardization )
2. การบัญชาการ ( Command )
3. การวางแผน/โครงสร้างการจัดการองค์กร ( Planning/Organizational Structure )
4. การจัดพื้นที่ปฎิบัติการและการบริหารทรัพยากร ( Facilites and Resources )
5. การจัดการด้านการสื่อสารและการบริหารข้อมูล ( Communications/Information Management )
6. การดำเนินงานอย่างมืออาชีพ ( Professionalism )

โครงสร้างการจัดองค์กร  ของระบบการบัญชาการเหตุการณ์

การจัดองค์กรเพื่อตอบโต้ฉุกเฉินในระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นการจัดองค์กรตามภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ (Functional Responsibility) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักได้แก่
1. ส่วนบัญชาการ ( Command )
2. ส่วนอำนวยการ ( General Staff ) 
แต่ละส่วนประกอบด้วยโครงสร้างการรับผิดชอบตามหน้าที่

โครงสร้างการจัดองค์กรหลัก  ของระบบการบัญชาการเหตุการณ์

1. ส่วนบัญชาการ ( Command )
       1.1 ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ( Incident Commander: IC )
       1.2 เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานหลัก ( Command Staff )
       1. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  ( Public Information Officer : PIO )
             2. เจ้าหน้าที่ประสาน   ( Liaison Officer : LO )
             3. เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ( The Safety Officer : SO )

2. ส่วนอำนวยการ ( General Staff )   ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ส่วนสำคัญ ดังนี้
2.1 ส่วนปฏิบัติการ  ( Operations )
2.2 ส่วนแผนงาน ( Planning )
2.3 ส่วนสนับสนุน ( Logistics )
2.4 ส่วนการบริหาร ( Finance / Administration )

ระบบบัญชาการเหตุการณ์    Incident Command System : ICS

- เป็นระบบที่ใช้เพื่อการสั่งการ การควบคุม และการประสานความร่วมมือ 
- เป็นระบบการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล คือ เพื่อปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อม 
- เป็นการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

แนวคิดพื้นฐาน/หลักการ  ของระบบบัญชาการ

ความหมายที่เป็นสากล (Common Terminology) 
      ทุกคนทุกหน่วยใช้คำพูดที่เป็นมาตรฐานสากลในระหว่างปฏิบัติงาน

องค์กรมาตรฐาน (Modular Organization)
     ปรับขยายและลดขนาดเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

การสื่อสารที่เป็นหนึ่งเดียว (Integrated Communication) 
     กำหนดแผนการติดต่อสื่อสารปกติ ข้อความที่ชัดเจน ความถี่ปกติ และคำศัพท์ปกติ

การสั่งการที่เป็นหนึ่งเดียว (Unity of Command) 
     เป็นการสั่งการที่แต่ละบุคคลภายในองค์กร รายงานแก่ผู้บังคับบัญชา เหนือตนที่มีเพียงคนเดียวเท่านั้น

การรวมแผนปฏิบัติการ (Consolidated Incident Action Plan)
     เป็นการรวมกิจกรรมนำทรัพยากรจากหลาย ๆ หน่วยงานมาใช้ร่วมกัน

โครงสร้างการสั่งการที่รวมกัน (Unified Command Structure)
     เป็นโครงสร้างการสั่งการที่ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกู้ภัย กำหนดวิธีการวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ภายใต้องค์กรเดียวกัน

การจัดการช่วงของการควบคุม (Manageable Span of Control) 
     เป็นการจำกัดช่วงของการควบคุมให้อยู่ระหว่าง 3-7 ช่วง 

การกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในการกู้ภัย (Designated Incident Facility) 
     จุดสั่งการในที่เกิดเหตุ พื้นที่ปลอดภัยและพื้นที่ปฏิบัติการ

การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  (Comprehensive Resource)
     การรวมทรัพยากรเดียวกันไว้ด้วยกัน การลดการติดต่อสื่อสาร ที่มากเกินไป การให้ความมั่นใจในความปลอดภัยของบุคลากร


ระบบบัญชาการ ICS

บุคลากร/เจ้าหน้าที่/ผู้เกี่ยวข้องเมื่อถึงที่เกิดเหตุ 
- ต้องเข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ประสานงาน  ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจหรือจุดบัญชาการทันที 

-  ทำการตรวจสอบจำนวนกำลังเจ้าหน้าที่ และเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำมา
  
“ เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง  กับภารกิจให้เคลื่อนย้ายกำลังพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ออกจากพื้นที่เกิดเหตุ ”


ICS คืออะไร

ICS คือ ระบบการจัดองค์กรสำหรับ .... 
- การบังคับบัญชา (Command) 
- การควบคุม (Control) 
- การประสานงาน (Coordination) 

เพื่อตอบสนองต่อการที่หน่วยงานหลายๆหน่วย ที่มาร่วมปฏิบัติงานในสถานการณ์เฉพาะที่มีเป้าหมายร่วมกันในการระงับสถานการณ์ ปกป้อง ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม

ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤติ

- สับสนวุ่นวาย ต่างหน่วย ต่างคน ต่างทำ 
- ไม่มีผู้ตัดสินใจสั่งการและควบคุมกำกับ
- ขาดการประสานงาน
- ทำงานซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณ
- ล่าช้า ไม่ทันเวลา
- แก้ปัญหาไม่ตรงจุดหรือไม่ตรงกับเหตุที่เกิดขึ้น
- ผู้ปฏิบัติมากจากหลายหน่วยงาน 
- ปัญหาการสื่อสาร
- ไม่มีการวางแผนงาน ทำงานอย่างไม่มีระบบ

เมื่อใดจะใช้ ICS

สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีหน่วยงานมากกว่าหนึ่งหน่วยงานปฏิบัติงานร่วมกัน เช่น 
- อุบัติเหตุรถยนต์ที่มีผู้บาดเจ็บ
- ไฟไหม้และมีสารเคมีรั่วไหล
- ภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม,ดินถล่ม,พายุ
- การก่อการร้ายโดยการวางระเบิด,การจี้จับตัวประกัน
- สถานการณ์ที่มีประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เช่น การแข่งขันกีฬา,การแสดงดนตรี,งานเทศกาลประเพณีประจำปี,การชุมนุมประท้วง ฯลฯ

ICS ช่วยในภาวะวิกฤติได้อย่างไร

- มีผู้บัญชาการสถานการณ์ รับผิดชอบภาพรวมทั้งหมด
- มีการวางแผนร่วมกัน วัตถุประสงค์เดียวกัน
- มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน มีการรับผิดชอบตามสายการบังคับบัญชา
- มีการกำกับดูแล จัดหา เก็บรักษา แจกจ่าย ทรัพยากรที่ต้องใช้งานอย่างเป็นระบบ และมีผู้รับผิดชอบ
- มีทีมงานในการ รวบรวมข้อมูล วางแผน เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บัญชาการสถานการณ์
- มีการเตรียมงานด้านงบประมาณ ค่าใช้จ่าย, การสนับสนุนที่ต้องการ


โครงสร้างการจัดองค์กรหลัก
ของระบบการบัญชาการเหตุการณ์


ความคิดเห็น