องค์ประกอบของไฟ ( เบีื้องต้น )

องค์ประกอบของไฟ 

ไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร?

คำถามนี้  แน่นอนเป็นความรู้พื้นฐานจริงๆ ทุกคนทราบ ทุกคนรู้ เพราะทุกคนสัมผัสกันมาตั้งแต่จำความได้ ถือว่าไฟ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ของเราๆ ทั้งหลาย

ไฟ มีหลายประเภท มีหลายอย่าง เราพยายามจะทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ ที่ละอย่างๆ ตามลำดับกันไป

เรามาเริ่มต้นกันที่ พื้นฐานที่เราต้องรู้กันก่อนนะครับ  มาครับบบบบบบบ


องค์ประกอบของไฟ   เป็นองค์ความรู้หลักที่เราต้องรู้และต้องเข้าใจก่อน ถึงจะสามารถไปต่อในหัวข้ออื่นๆ ได้ครับ 

ไฟ มี องค์ประกอบ ไม่มากครับ มีแค่ 3 อย่าง รวมกัน และได้สัดส่วน ที่พอเหมาะ ถึงจะสามารถเกิดเป็นไฟได้ ซึ่งองค์ประกอบ 3 อย่างที่ว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันครับบบ 



1 . อากาศหรือออกซิเจน  ( Oxygen )

ถ้าเราเจาะลึกลงไป  คำว่า อากาศหรือออกซิเจน มันใช้ไม่ได้ครับ  แต่ด้วยคำเฉพาะที่ "เบื้องต้น" เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย ก็พอจะอภัยได้ ตามประสาชาวบ้าน จะเข้าใจได้ 

ถ้าเราลึกลงไปหล่ะ  เราจะเข้าใจอากาศ อย่างไร ?????

ในอากาศทั่วไป ในสภาวะปกติ มันมี องประกอบต่างๆ ดังนี้ 

1. Oxygen  ( ออกซิเจน )  เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของไฟ ที่เราพูดถึง จะมีอยู่ในอากาศ ประมาณ 20.93 % ( ตีเป็นเลขกลม ให้จำได้ ก็ 21% ละกัน ครับ )

2.  Carbondioxide  0.03%  

3.  Nitrogen  78.04%  เป็นก๊าซที่มากสุดในอากาศ 

4.  Others 1.00%  พวกฝุ่นละอองต่างๆ  

รวมแล้วเป็นอากาศ ที่เราอยู่ใน ณ ขณะนี้  นี่คือ ถ้าเราจะแยกหรือเจาะลึกในเรื่องของ อากาศ ครับ 

แต่เอาเถอะ สำหรับภาษาง่ายๆ เป็นที่เข้าใจง่ายแบบบ้าน อยากเรียกอะไรก็ได้ ถือว่าเป็นอันเข้าใจกันนนนนนนนนนนน 

++ นักวิชาการเขายังบอกอีกว่า ออกซิเจนในอากาศ ที่มีตั้งแต่ 16 % ขึ้นไป จนถึง ประมาณ 21 %  จะทำให้การลุกไหม้ของไฟจุดติดได้ดี หรือลุกไหม้ได้ดีนั่นเอง 

!!! แต่ถ้า ออกซิเจนในอากาศ ต่ำกว่า 15 % ลงมา   จะทำให้การลุกไหม้จุดติดได้ไม่ดี ไฟจะดับลง 
" เราเคยสังเกตไหม ภูมิปัญญาชาวบ้านเมื่อก่อน การขุดบ่อน้ำ หรือ การสำรวจถ้ำ เขาจะจุดเทียนลงไปด้วยเสมอ เพราะอะไรหน่ะหรือ ถ้าไปดับ ก็แสดงว่า ออกซิเจน ต่ำแล้ว ไม่ปลอดภัยแล้ว ถ้าสำรวจถ้ำ ก็ไม่ควรไปต่อ หรือถ้าขุดบ่อน้ำ ก็ไม่สามารถขุดต่อไปได้ อันตรายแล้ว

นักวิชาการเขายังบอกอีกว่า  คุณสมบัติของก๊าซออกซิเจนนั้น มันไม่ติดไฟ แต่ตัวของมันเป็นตัวหนุนเนื่องทำให้ไฟลุกจุดติดได้ดีมากขึ้น  ฉะนั้นเวลาเราอยากได้ไฟแรงๆ เราก็ใช้วิธีการ เติมออกซิเจนเข้าไป โดยการพัดหรือเป่าลมเข้าไป   


2. เชื้อเพลิง   ( Fuel )  

เชื้อเพลิง ที่เราจะพูดถึงในที่นี้ ให้เราเข้าใจง่ายๆ เลย เราต้องแบ่งประเภท ของเชื้อเพลิงออกก่อนนะครับ ในทางทฤษฎี เราแบ่งสถานะ ของเชื้อเพลิงออกเป็น 3 สถานะ ดังนี้ 

2.1 มีสถานะเป็นของแข็ง 
      ของแข็งก็จะสามารถจับต้องได้ และแข็งตัว ( น้ำแข็ง ไม่น่าใช่นะครับบบบ ) อาทิ เช่น 
- ไม้  หรือต้นไม้ต่างๆ ทั้งไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อน ฯลฯ ไม้พวกนี้สามารถนำมาใช้เป็น ฟืน เพื่อใช้ในการทำให้อาหารสุก ในสมัยก่อนเราจะคุ้นเคยกับฟืนมาก แต่ในปัจจุบันนี้ ป่าไม้เริ่มน้อยลง บวกกับการใช้ฟืนมีควันเป็นจำนวนมากในเมืองอาจจะไม่สะดวกในการใช้เท่าไหร่ แต่จะเห็นในชนบทที่ยังใช้กันอยู่ 
- วัชพืชแห้ง เช่น ฟาง หญ้าแห้ง เหล่านี้สามารถลุกติดไฟได้ 
- ยางต่างๆ รวมทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์  
- นุ่น ฝ้าย ปกติก็นำมาใช้ในครัวเรือน ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มบ้าง ทำเป็นเครื่องใช้บ้าง เช่น ที่นอน หมอน เป็นต้น 
- กระดาษ ที่ใช้ในสำนักงาน ทำเป็นหนังสือ สมุด เอกสารต่างๆ 
- ร่างกายมนุษย์  คนเราก็ถือเป็นของแข็งนะครับ และเป็นเชื้อเพลิงด้วย สังเกตได้จากตอนที่เราเผาศพได้ครับ 

สรุปง่ายๆ เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็ง  เมื่อเกิดการลุกไหม้อย่างสมบูรณ์ จะหลงเหลือขี้เถ้า ไว้เสมอครับบบบบ
         
           
2.2 มีสถานะเป็น ของเหลว  
      ของเหลวก็คือ เป็นน้ำ นั่นเอง เชื้อเพลิงชนิดนี้ที่เราเห็นๆ กันทั่วไป และสามารถหาได้ในชีวิตประจำวันก็คือ น้ำมัน ที่เราใช้เติมรถ นั่นแหล่ะครับ นอกจากน้ำมันที่เติมรถแล้ว น้ำมันที่อยู้ใกล้ตัวเรามากที่สุด ก็คือหนีไม่พ้น น้ำมันพืช น้ำมันหมู น้ำมันงา น้ำมันไขข้น ไขสัตว์ ฯลฯ 

นอกจากน้ำมันแล้ว ก็มี แอลกอฮอร์ ต่างๆ ทั้ง เอทิล และ เมทิล แอลกอฮอร์ ที่มีขายในปัจจุบัน 

ทินเนอร์ สารระเหยไวไฟ ต่างๆ ที่อยู่รูปของของเหลวนั่นเอง


 
2.3 มีสถานะเป็น ก๊าซหรือแก๊สทุกชนิด  
    ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยเรา ก็มาก๊าซหรือแก๊ส ที่เราคุ้นเคย และพบเห็นกันอยู่ไม่กี่ชนิด เอาง่ายให้เห็นภาพและเกี่ยวข้องกับเรามากที่สุด ดังนี้
1. แก๊ส LPG  ( Liquefied Petroleum Gas ) 
     แก๊สชนิดนี้ประชาชนทุกคนจะต้องเคยจับต้อง และได้ใช้กันเกือบจะทุกคนก็ว่าได้ เพราะมันคือ แก๊สหุงต้ม ที่ใช้ในครัวเรือนเรานั่นแหละครับ 
     แก๊สหุงต้ม เป็นพลังงานทดแทน ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา เข้ามาทดแทนฟืน ที่เราใช้กันในอดีต แก๊สหุงต้ม เมื่อมีการเผาไหม้แบบสมบูรณ์จะไม่ก่อให้เกิดควันหรือมลพิษตามมาครับ 
     ในส่วนของคุณสมบัติของแก๊ส LPG นั้น สามารถหาได้ตามอินเทอร์เน็ตครับ แต่ผมจะบอกคร่าวๆ ไว้แล้วกันครับ


คุณสมบัติของ แก๊ส LPG 
- ตัวของแก๊ส LPG จะมีน้ำหนักที่หนักกว่าอากาส แต่มันจะเบากว่าน้ำ แน่นอนครับเวลามันรั่วไหล มันก็จะอยู่พื้นๆ นี่แหละครับ
- ตัวของแก๊สมันไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส  ที่เราได้กลิ่นทุกๆวันนี้เขาเติมสารที่ให้กลิ่นฉุนเข้าไปเพื่อเตือนให้พวกเรารู้ว่ามีแก๊สรั่วไหลอยู่นะ สารชนิดนี้มีชื่อว่า มอร์แคปแทน ( Mercaptan ) 
- เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ สามารถให้ความร้อนสูง อุณหภูมิเปลวไฟสูงถึง 1,900 องศาเซลเซียส 
- ตัวแก๊สหุงต้ม ( LPG ) เองไม่มีพิษ แต่ถ้าเราสูดดมไปมากๆ แก๊สจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในร่างกาย จะทำให้เรามึนงง วิงเวียน หรือเสียชีวิตได้
- ตัวนี้สำคัญ อัตราการขยายตัว ตัวแก๊ส ( LPG ) 1 ลิตร จะขยายตัว 250 เท่า นั่นหมายความว่าแก๊สจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลว ( liquid ) กลายเป็นไอก๊าซ ( Gas ) 1 ลิตร เป็น 250 ลิตร  เป็นอัตราขยายที่ค่อนข้างเยอะทีเดียว เพราะฉะนั้น ควรให้มันเปลี่ยนสถานะอยู่ในถังแก๊สก็พอแล้วครับ ไม่ต้องให้มันมาเปลี่ยนสถานะนอกถังเลยครับ 
  จากอัตราการขยายหรือการเปลี่ยนสถานะนี้ การบรรจุแก๊สลงในถัง เขาจะบรรจุเพียง 85%  ของถังเท่านั้น เพื่อให้ถังมีพื้นที่ในการขยายตัวของแก๊สครับ
-  ตัวแก๊สติดไฟง่าย 

ส่วนรายละเอียดลึกๆ ไปหาข้อมูลต่อได้ ครับ

2. ก๊าซ NGV ( Natural Gas Vehicles )  
    ส่วนใหญ่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และสำหรับยานยนต์ เกิดขึ้นจากการนำก๊าซธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน มาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นแรงดันที่สูงมากๆๆๆ ฉะนั้นภาชนะที่ใช้จึงมีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่น เหล็กกล้า เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิลหรือดีเซลในรถยนต์ประเภทต่างๆ ซึ่งสากลเรียกว่า Compressed Natural Gas (CNG) หรือ ก๊าซธรรมชาติอัด
  ส่วนรายละเอียดลึกๆ ไปหาข้อมูลต่อได้ ครับ

3. ความร้อน ( Heat )   
     
    เป็นอุณหภูมิที่สามารถลุกจุดติดได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะมีอุณภูมิที่สามารถจุดติดได้เองแตกต่างกันออกไป 
    
    อุณภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดไฟครับ ถ้าอุณหภูมิถึงจุดวาปไฟของเชื้อเพลิงนั้นๆเมื่อไหร่ ไฟก็พร้อมจะลุกจุดติดขึ้นมาได้ทันทีครับ

ขอบคุณภาพประกอบ จากเจ้าของภาพ

ความคิดเห็น