ประเภทของไฟ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไฟที่เกิดขึ้น เป็นไฟประเภทไหน ????? 

เป็นคำถามที่น่าคิดไม่น้อยเลยนะครับบบบบ  แต่ทำไมเราก็ต้องคิดหล่ะ ไฟก็คือไฟ วันยันค่ำ จะรู้ไฟเพื่อ ??????

      ถ้าเป็นเมื่อก่อนยังไม่เป็นยุคอุตสาหกรรม ประเภทของไฟ คงไม่ใช่ปัญหาอะไร  เมื่อไฟเกิดเกินจนควบคุมก็ใช้น้ำทำการดับก็จบ !!!!! 

      แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้วครับ เราใช้ชีวิตในท่ามกลางของเทคโนโลยี  ใช้ชีวิตโรงงานเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงตนครับ และในสถานีเหล่านี้เต็มไปปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันอยู่ ที่สำคัญคือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่มนุษย์เราคิดค้นขึ้น  เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต ให้กับพวกเรา 

     เมื่อมีอุปกรณ์ต่างๆ มีเกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สินของเรา แน่นอนครับเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ที่จะทำให้ชีวิตและทรัพย์ของเรานั้นปลอดภัย จากภัยต่างๆ จากขโมย  จากอุบัติเหตุ แน่นอนครับสำคัญที่สุด คือภัยการอัคคีภัย ( ไฟไหม้ ) นั่นแหล่ะครับ ถ้ามันได้เกิดขึ้นแล้ว รับรองได้ว่าเสียหายไม่มากก็น้อย 

     ภัยที่เกิดจากไฟ หรือ ที่เรียกกันว่า อัคคีภัย นั้น เป็นภัยที่ยากต่อการรู้ล่วงหน้า เพราะมันจะเกิดเวลาใดนั้นเราไม่สามารถทราบได้เลย ( นอกเสียจากการวางเพลิง ) เราทำได้เพียงการป้องกันเท่านั้น เพื่อลดอัตราเสี่ยงให้น้อยลงไป 


ทีนี้เรามาเรียนรู้กันดีกว่าครับว่า ไฟ ตามกฎหมายประเทศเราได้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง !!!!! 

ประเภทของไฟ ที่เราจัดจำแนกมานั้น  จริงๆ จัดมาเพื่ออะไร  ทำไมต้องจำแนกหล่ะ 

ก่อนที่เราจะเดาๆ ไป เรามาดูกันดีกว่า ว่าไฟ แต่ละประเภทนั้น มีคุณสมบัติ อย่างไร ถ้าได้เรียนรู้แล้วเราอาจจะ อ๋อ ก็ได้ว่า ทำไมถึงจัดจำแนกประเภทไว้ ครับบบบ


ประเทศไทย แบ่งประเภทไฟ ออกเป็น 4 ประเภท ครับ ดังนี้ 

1. ไฟประเภท A  ( Class A ) 
     
Class A
     ไฟ ประเภท A  คือ ไฟที่เกิดจาก เชื่อเพลิง ที่มีสถานะเป็นของแข็ง ที่สามารถลุกติดไฟได้  เช่น ฟืน  ฟาง  ยางต่างๆ  ไม้ทุกชนิด  ปอ  ฝ้าย  กระดาษ นุ่น รวมถึงร่างกายมนุษย์ เสื้อผ้า เครื่องหนังต่างๆ กองขยะธรรมดา เช่น พลาสติก ใบไม้ ยาง เป็นต้น
      กล่าวคือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาทั่วไป  ไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องเลย ไฟประเภทนี้ สามารถใช้น้ำเปล่าๆ ทำการดับ โดยใช้หลักการลดอุณหภูมิ เป็นการตัดองค์ประกอบของไฟ คือ ความร้อน ออกไป ไฟก็จะดับลง 

2. ไฟประเภท B ( Class B ) 
 
Class B

     ไฟ ประเภท B  คือ  ไฟที่เกิดจาก เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของเหลวและก๊าซ ไวไฟ เช่น น้ำมัน  แอลกอฮอล์  ทินเนอร์  จารบี สารโซเว้น และแก๊ส ก๊าซ เป็นต้น 
     น้ำมัน  ในประเทศเรา ไฟประเภทนี้ รวมน้ำมันทุกอย่างอยู่นะครับ ไม่ได้แยกออกจากกัน บางมาตรฐาน เขาแยกน้ำมัน ออกมาอีก เป็นอีกประเภทหนึ่งเลยครับ เดี๋ยวเราค่อยมาว่ากันในไฟประเภทที่จะเพิ่มเติมให้ครับบบบ
     ไฟประเภทนี้ ส่วนใหญ่แล้ว การลุกไหม้จะเกิดขึ้นที่ไอ ของเชื้อเพลิง เกิดขึ้นบริเวณผิว ไฟประเภทนี้ใช้น้ำทำการดับไม่ได้เลยครับ 
      ถ้าเป็นน้ำมันจะยิ่งทำต้นเพลิงขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกจากไฟไม่ดับแล้วยังเพิ่มความสูญเสียให้กับเจ้าของอีกครับ 
      ไฟ ประเภทนี้ วิธีการดับ จะใช้วิธีการคลุม ครอบ ทับ ทำให้อับอากาศ ( ตัดองค์ประกอบ ออกซิเจน ) หรือ ใช้ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง  ถังดับเพลิงชนิด CO2   ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวละเหย และถังดับเพลิงชนิดโฟม ในการดับ

3. ไฟประเภท C  ( Class C ) 
Class C
       ไฟ ประเภท C  คือ ไฟที่เกิดจาก เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็ง แต่เป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน อาทิ เช่น โทรทัศน์  ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด 
       ไฟ ประเภท ไม่สามารถนำน้ำเข้าไปทำการดับโดยเด็ดขาด เพราะน้ำเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า ซึ่่งคนใช้น้ำในการดับอาจได้รับอันตรายแก่ชีวิต 
        ไฟประเภท C มีความเหมือนกับ ไฟประเภท A ครับ ต่างกันตรงที่ มันมรกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่เท่านั้น การดับไฟประเภทนี้ให้ได้ประสิทธิภาพและปลอดภัย คือ การตัดกระแสไฟฟ้า ครับ ถ้าเป็นตัดกระแสไฟ เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถใช้น้ำได้เลยครับบบ

!!! เราจะสั่งเกตได้ว่า เวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน นักดับเพลิงจะไม่ใช้น้ำทันที ต้องมั่นใจก่อนว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าแล้วเท่านั้น สาเหต ไม่ใช่ว่านักดับเพลิงกลัวหรอกครับ นักดับเพลิงเขาอุปกรณ์ป้องกันที่ดีอยู่แล้ว ห่วงก็แต่ประชาชนผู้หวังดีที่มาช่วยเจ้าหน้าที่ครับ ที่จะได้อันตราย  สิ่งที่ประชาชนควรช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุ ควรช่วยเรื่องของการจราจร โทรแจ้งการไฟฟ้าเพื่อบอกพิกัดที่แน่นอนครับ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะได้ช่วยในการตัดกระแสไฟได้รวดเร็ว เจ้าหน้าดับเพลิงก็สามารถทำงานได้เร็วลดการสูญเสียได้เร็วขึ้นครับ 

ถังดับเพลิงที่สามารถใช้ได้ คือ ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ถังดับเพลิงชนิด CO2 และถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวละเหย ครับบบบบ

  4. ไฟประเภท D  ( Class D ) 
Class D
      ไฟ ประเภท D  คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิง ที่เป็นโลหะติดไฟ รวมถึงสารเคมีต่างๆ  เช่น แมกนีเซียม  อะลูมิเนียม ไททาเนียม โซเดียม รวมถึงวัตถุระเบิด เป็นต้น 

       ไฟ ประเภทนี้น่ากลัวครับ ไม่มีถังดับเพลิงชนิดไหนใช้ดับได้ นอกเสียจากถังดับเพลิงที่ผลิตมาเพื่อสารเคมีตัวนั้นโดยเฉพาะ และที่สำคัญ ไฟประเภทนี้ ไม่สามารถใช้น้ำทำการดับได้เลย  สารเคมีบางชนิดสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วเกิดการระเบิดและลุกจุดติดได้โดยง่ายครับ 
        ในบ้านเรา ยังมีการลักลอบนำเข้าสารเคมี โดยไม่บอกทางกรมฯ อีกเยอะครับ เมื่อไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็มีการลักลอบทิ้ง แบบนี้อันตรายมากครับ มีให้เห็นบ่อยๆ ครับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศครับ

         การดับไฟประเภทนี้ ใช้ได้วิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพ คือ การตัดองค์ประกอบ ออกซิเจน  โดยการใช้ ทรายแห้ง ในการปกคลุมบริเวณที่เกิิดเพลิงไหม้ ( ทรายเมื่อได้รับความร้อนก็จะละลายกลายเป็นแผ่นลักษณะคล้ายฟิล์มคลุมบริเวณที่เกิดเหตุไว้ ออกซิเจน ไม่สามารถเข้าไปได้ไฟก็จะดับลง ( แน่นอนครับ ทราย ส่วนไหญ่แล้วก็คือ วัตถุดับในการทำ แก้ว ครับ ) 

ไฟ ประเภท K เพิ่มเติม  
Class K

         ตามมาตรฐาน NFPA  ( National Fire Protection Association ) ของประเทศสหรัฐอเมริกา 
ซึ่งเขาได้แบ่งประเภทของ ไฟ ออกมาอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นประเทศไทยเรา ไฟ ประเภทนี้อยู่ในกลุ่มไฟประเภท B  
         NFPA ได้แยกน้ำมันออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ น้ำมันที่ไม่คายไอ ในสภาวะปกติ   โดยปกติแล้วน้ำมันจำพวก เบนซิน  ดีเซล  แก๊สโซฮอร์ เมื่อนำออกมาวางในที่โล่งแจ้งน้ำมันจำพวกนี้จะมีการคายไอครับ หรือมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ อยู่ตลอดเวลา แต่ มันมีน้ำมันอยู่อีกหนึ่งประเภทที่เอามาวางไว้ในที่โล่งแจ้งแล้วมันไม่คลายไอ มันจะคายไอ ก็ต่อเมื่อมันได้รับความร้อน มันถึงจะคลายไอ 
         แน่นอนครับ ไฟประเภท K นี้ มีอยู่ในครัว ของทุกๆ บ้านครับ เพราะเราใช้ในการประกอบอาหารครับ คือ น้ำมันพืช  น้ำมันไขสัตว์  น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม เป็นต้น น้ำมันประเภทนี้เมื่อได้รับความร้อน จะมีอุณหภูมิ ที่ค่อนข้างสูงครับ มากถึง 300+ องศา C  มันจึงสามารถเกิด Auto ignition Temperature  (อุณหภูมิติดไฟโดยอัตโนมัติ) 
         ไฟประเภทนี้ ถ้าขาดความรู้ในการจัดการจะอันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำ ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภทนี้ได้เลยครับบบบบ

          คำถาม ทำไม ไม่สามารถใช้น้ำดับไฟประเภทนี้ได้ครับบบบบบบบ ? 


เป็นอย่างไรบ้างครับ ได้เรียนรู้ ถึงประเภทของไฟ มาแล้ว คงพอจะเดาได้ว่าเขาจะไว้ทำไม ? 

   ถ้าเราสามารถแยกประเภทของไฟ เราก็สามารถจะจัดการกับไฟที่เกิดขึ้นได้ อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยกับตัวเราครับ  

#ต้องขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบด้วยนะครับ 


บล๊อกหน้าเรามาตอบคำถามกันนะครับบบบ  สามารถแชร์ความรู้ได้ครับ

ความคิดเห็น