โฟม (Foam) ที่ใช้ในการดับเพลิง

 😊 หลายๆ กรณี ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นมา  

นักดับเพลิงจะเข้าทำการระงับเหตุ  จำเป็นจะต้องใช้สารที่จะเข้าทำการตอบโต้ สถานการณ์  ซึ่งโดยพื้นฐาน ก็จะใช้ น้ำ เป็นหลักในการปฏิบัติงาน ใช่ป่ะครับ  

แต่เชื่อเถอะครับ บางครั้งน้ำก็ไม่ใช้คำตอบที่ดีเสมอไป อย่างเช่น ไปไหม้โรงงานที่เป็นข่าวโด่งดัง นั้นแหล่ะครับ  


เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว ว่า ไฟ นั้น ในประเทศไทย เราแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน ตามบทความที่ผมเคยเขียนข้างต้น นะครับ  

ทบทวนกัน นิดหนึ่ง นะครับ ไฟ 4 ประเภท ดังนี้

1. ไฟประเภท A  เชื้อเพลิงทั่วไป ที่เป็นของแข็ง เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ฯลฯ

2. ไฟประเภท B  เชื้อเพลิงจำพวกของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมัน แอลกอฮอล์ สารทำละลายต่างฯ รวมถึง แก๊ส ก๊าซ ( LPG  , NGV , CNG ) 

3. ไฟประเภท C เชื้อเพลิง ที่เป็นของแข็ง แต่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างๆ ที่ในบ้านเรานั่นแหล่ะครับ

4. ไฟประเภท D เชื้อเพลิงที่เป็นจำพวกโลหะติดไฟได้ อันนี้รวมถึงพวกสารเคมีด้วยก็ได้นะครับ 

ประเภทของไฟ นี้เราเอาคร่าวๆ นะครับ ส่วนรายละเอียดนั้น สามารถอ่านในบทความก่อนๆ ได้เลยครับผม 


วันนี้ ผมจะหยิบยกเอา ไฟประเภท ที่เป็นเชื้อเพลิงจำพวกของเหลวติดไฟ  นั่น ก็คือ ไฟประเภท B นั่นเองแหล่ะครับ 

ไฟประเภทนี้ เรารู้กันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าถ้ามันเกิดการลุกจุดติดขึ้นมา น้ำ เราไม่สามารถใช้ได้ ด้วยคุณสมบัติของ สารประเภทน้ำมัน แอลกอฮอล์ สารทำละลาย ฯลฯ พวกนี้ มันไม่เหมาะกับการใช้น้ำเพื่อลดอุณหภูมิเลยครับ  

เชื้อเพลิงประเภทนี้ การดับ จะต้องใช้วิธีการ ตัดเอา ออกซิเจน ออกไป  ซึ่งก็มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การคลุม การครอบ การทับ ซึ่งล้วนแต่เป็นการไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปรวมกับ เชื้อเพลิง และความร้อน นั่นเองครับ

แต่ก็นั่นแหล่ะครับ วิธีการข้างต้น ถ้าเป็นลักษณะเหตุเล็กๆ เราสามารถทำได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ มันมีขนาดใหญ่โต ขึ้นมาการครอบ การทับ อาจจะไม่ได้ผล 
เขาจึงมี นวัตกรรม การดับเพลิง โดยการใช้โฟม เข้ามาใช้ในภารกิจครับ  ซึ่งก็จะเป็นหัวข้อที่เราจะเอามาแบ่งปันความรู้กันในวันนี้ 

โฟม (Foam) ที่ใช้ในงานดับเพลิง  คำจำกัดความของมัน คือ โฟมที่ใช้ในการดับเพลิงจะเป็นฟองอากาศขนาดเล็ก มีความคงทน ไม่สลายตัวง่าย ความหนาแน่นจะน้อยกว่าน้ำมัน หรือสารไวไฟ  
ตัวโฟมนั้น เกิดจากส่วนผสมของน้ำยาโฟมเข้มข้น น้ำ และอากาศ

โฟมเข้มข้น (Foam Concentrate) คือ โฟมเข้มข้นที่ใช้ในการดับเพลิง ซึ่งยังไม่ผ่านการผสมกับน้ำดับเพลิง ที่ผมเห็นและใช้งานทุกวันนี้ ก็จะอยู่ในรูปของ ถังขนาด 19L  ซึ่งง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ที่ใช้ในหน่วยงานดับเพลิงครับ  แต่ถ้าเป็นโรงงานก็มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้าย ตั้งแต่ขนาด 208L ไจนถึงบรรจุในรูปแบบ Atmospheric Tank , Bladder Tank .  
การเก็บโฟมในรูปแบบนี้ จะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น นั่นเองครับ

สารละลายโฟม (Foam Solution)  คือ ของเหลวซึ่งเกิดจากการผสมน้ำยาโฟมเข้มข้นกับน้ำดับเพลิง ในอัตราส่วนที่ถูกต้องนะครับ 

เราเคยเห็นข้างๆ ถังโฟมเข้มข้น ไหมครับ มันจะเขียนว่า 3%  6% หลายคนอาจจะสงสัยกัน ว่ามันคืออะไร

โฟมเข้มข้น 3% อัตราส่วนผสมในการใช้งาน ก็คือ โฟมเข้มข้น ( Foam Concentrate ) จำนวน 3 ส่วน และน้ำจำนวน 97 ส่วน โดยผ่านตัวผสมโฟม ( Proportioner ) ที่เหมาะสม และผสมกับอากาศตอนออกจาก Foam Discharge Device เพื่อให้ได้โฟมที่อยู่ตัว มีความลื่นไหล มีการแผ่กระจายบนผิวหน้าด้วยความรวดเร็ว นั่นเองครับ 

ส่วนโฟมเข้มข้น 6% ก็มีอัตราส่วนผสมเช่นเดียวกัน นะครับ เทียบได้เลยครับ 

ในบทความหน้าเราจะ แบ่งปันในเรื่องของ ชนิดของโฟม กันต่อนะครับ ว่าแล้วโฟมที่ใช้ในการดับเพลิงนั้น มันมีอยู่กี่ชนิด และ ในปัจจุบัน เขาใช้ชนิดไหน และแต่ละชนิดมันเหมาะกับอะไร เรามาเรียนรู้กันอีกทีนะครับ  

วันนี้น่าจะพอหอมปาก หอมคอ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป  😍

ต้องขอขอบคุณข้อมูล จาก BSA และ Imperial เป็นอย่างสูง ครับผม 💖🙏🙏🙏



 

ความคิดเห็น